รหัสและคำอธิบาย  >> หมวดวิชานิเทศศาสตร์

ก่อนหน้า ต่อไป

: : หมู่วิชาภาพยนตร์ (307) : :


หมู่วิชาภาพยนตร์ ซึ่งอยู่ในหมวดวิชานิเทศศาสตร์ ได้จัดลักษณะเนื้อหาวิชาออกเป็นดังนี้

                1. หลักการและทฤษฎีทั่วไป                                                                                                                   ( 307 -1- - )
                2. ภาษา                                                                                                                                                ( 307 -2- - )
                3. การถ่ายภาพยนตร์เฉพาะสาขา                                                                                                          ( 307 -3- - )
                4. กราฟิก                                                                                                                                             ( 307 -4- - )
                5. การผลิต                                                                                                                                            ( 307 -5- - )
                6. การบริหาร                                                                                                                                        ( 307 -6- - )
                7.                                                                                                                                                          ( 307 -7- - )
                8. การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ                                                                                                                ( 307 -8- - )
                9. โครงการพิเศษ ปัญหาพิเศษ วิทยานิพนธ์ โครงการศึกษาเอกเทศการสัมมนา และการวิจัย                 ( 307 -9- - )

หมู่วิชาภาพยนตร์(307)  ในหมวดวิชานิเทศศาสตร์

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

น(ท-ป)

รหัสใหม่

รหัสเก่า

3071101

3071102

 

 

3071103

3072401

3073201

 

 

3073501

 

 

3073502

3073801

 

3074201

 

3074301

 

3074302

 

 

3074303

 

3074304

3074501

 

 

3074601

 

3074602

3074901

3074902

 

3074903

 

4661431

-

3071102

4662423

-

4662334

-

3073201

4662215

-

3073501

4662422

-

 

4663851

 

3074201

-

4664450

 

4664449

-

4664452

-

4664451

-

3074501

4664448

-

3074601

-

4664951

-

3074902

-

3074903

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาพนิ่งและภาพยนตร์

หลักการภาพยนตร์

หลักการภาพยนตร์

หลักการภาพยนตร์

ประวัติภาพยนตร์

การผลิตกราฟิกสำหรับภาพนิ่งและภาพยนตร์

การเขียนบทภาพยนตร์

การเขียนบทภาพยนตร์

การเขียนบทภาพยนตร์

การถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้น

การถ่ายทำภาพยนตร์ 1

การผลิตภาพยนตร์

แสงในงานภาพนิ่งและภาพยนตร์

การปฏิบัติงานภาพนิ่งและภาพยนตร์

การปฏิบัติงานนิเทศศาสตร์

การวิเคราะห์และวิจารณ์ภาพนิ่งและภาพยนตร์

การวิเคราะห์และวิจารณ์ภาพยนตร์

การถ่ายทำภาพยนตร์เพื่อการเรียนการสอน

การถ่ายทำภาพยนตร์เพื่อการเรียนการสอน

การถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี

การถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี

การถ่ายทำภาพยนตร์บันเทิง

การถ่ายทำภาพยนตร์บันเทิง

การถ่ายทำภาพยนตร์แอนิเมชั่น

การถ่ายทำภาพยนตร์แอนิเมชั่น

การถ่ายทำภาพยนตร์ขั้นสูง

การถ่ายทำภาพยนตร์ 2

การถ่ายทำภาพยนตร์ 2

การบริหารงานภาพนิ่งและภาพยนตร์

การบริหารงานภาพยนตร์

จิตวิทยาในงานภาพนิ่งและภาพยนตร์

การศึกษารายบุคคลด้านภาพนิ่งและภาพยนตร์

โครงการพิเศษด้านภาพนิ่งและภาพยนตร์

โครงการพิเศษด้านภาพนิ่งและภาพยนตร์

สัมมนาภาพนิ่งและภาพยนตร์

สัมมนาด้านภาพนิ่งและภาพยนตร์

2(2-0)

3(3-0)

2(2-0)

2(1-2)

2(2-0)

2(1-2)

3(2-2)

2(1-2)

3(2-2)

3(2-2)

2(1-2)

3(2-2)

2(2-0)

3(2-2)

3(2-2)

3(3-0)

2(2-0)

2(1-2)

3(2-2)

2(1-2)

3(2-2)

2(1-2)

3(2-2)

2(1-2)

3(2-2)

2(1-2)

2(1-2)

3(2-2)

3(3-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(1-2)

3(2-2)

2(1-2)

3(2-2)

2(1-2)

คำอธิบายรายวิชา
หมู่วิชาภาพยนตร์ (307)

รหัส

ชื่อและคำอธิบายรายวิชา น(ท-ป)
3071101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาพนิ่งและภาพยนตร์ 2(2–0)
Fundamentals of Photography and Cinematography
  ประวัติการถ่ายภาพนิ่งและภาพยนตร์โดยสังเขป คุณลักษณะ บทบาท ประเภท ของภาพนิ่งและภาพยนตร์ อุปกรณ์เครื่องมือในการผลิตภาพนิ่งและภาพยนตร์ โดยเน้นการเลือก การใช้ การนำเสนอ การเก็บรักษาและการอนุรักษ์
3071102 หลักการภาพยนตร์ 3(3–0)
Principles of Film
  ความหมาย หลักการ และประวัติภาพยนตร์โดยสังเขป ประเภทของภาพยนตร์ บทบาทและประโยชน์ของภาพยนตร์ในการสื่อสาร หลักการผลิตภาพยนตร์ อุปกรณ์และเครื่องมือในการผลิต การถ่ายทำภาพยนตร์อย่างง่าย
3071103 ประวัติภาพยนตร์ 2(2–0)
History of Film
  ศึกษาประวัติของภาพยนตร์ วิวัฒนาการของภาพยนตร์ในเชิงสื่อสารที่แสดงออกทางด้านเนื้อหาและรูปแบบ ทั้งของต่างประเทศและของไทย บทบาท อิทธิพลของภาพยนตร์ในฐานะสื่อมวลชนที่มีต่อสังคมในแต่ละยุคสมัย
3072401 การผลิตกราฟิกสำหรับภาพนิ่งและภาพยนตร์ 2(1–2)
Graphic Production for Photography
  ความหมาย ขอบข่าย และความสำคัญของวัสดุกราฟิกที่มีต่อภาพนิ่งและภาพยนตร์ ปฏิบัติการออกแบบ และผลิตวัสดุกราฟิกประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ในงานภาพนิ่งและภาพยนตร์
3073201 การเขียนบทภาพยนตร์ 3(2–2)
Script Writing for Film
  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิธีการเขียนบทภาพยนตร์ ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อเรื่อง การวางเค้าโครงเรื่อง ปฏิบัติการเขียนบทภาพยนตร์ประเภทต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์สารคดี ภาพยนตร์เพื่อการเรียนการสอน ภาพยนตร์บันเทิง เป็นต้น
3073501 การถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้น 3(2–2)
Basic Cinematography
  หลักการภาพยนตร์ เทคนิคในการใช้กล้อง และอุปกรณ์ประกอบในการผลิต ภาพยนตร์ การวางแผน การทำบทและเตรียมงาน ปฏิบัติการถ่ายทำภาพยนตร์อย่างง่าย การตัดต่อภาพการทำหัวเรื่อง การบันทึกเสียงประกอบ
3073502 แสงในงานภาพนิ่งและภาพยนตร์ 2(2–0)
Light for Still Photography and Film
  ศึกษาถึงธรรมชาติของแสง บทบาทของแสงกับงานภาพถ่าย การจัดแสง เพื่อให้เกิดผลในเชิงสื่อสารตามเจตนาของการสื่อสารในลักษณะต่าง ๆ ทั้งในงานภาพนิ่งและภาพยนตร์
3073801 การปฏิบัติงานภาพนิ่งและภาพยนตร์ 3(2–2)
Practicum in Photography and Cinematography
การนำความรู้ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติเกี่ยวกับงานภาพนิ่งและภาพยนตร์ที่ได้ ศึกษามา ไปใช้ในสถานการณ์ที่จัดขึ้นภายในสถาบัน
3074201 การวิเคราะห์และวิจารณ์ภาพนิ่งและภาพยนตร์ 3(3–0)
Film Analysis and Criticism
  ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้าง รูปแบบและความหมายของภาพนิ่งและภาพยนตร์ประเภทต่าง ๆ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์และวิจารณ์ภาพนิ่งและภาพยนตร์
3074301 การถ่ายทำภาพยนตร์เพื่อการเรียนการสอน 2(1–2)
Instructional Films
  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาพยนตร์เพื่อการเรียนการสอน ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาในหลักสูตร ตลอดจนความต้องการ ความสนใจ เจตคติของผู้เรียน ปฏิบัติการสร้างภาพยนตร์เพื่อการเรียนการสอน
3074302 การถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี 2(1–2)
Documentary Films
  วิวัฒนาการ ความสำคัญ และบทบาทของภาพยนตร์สารคดี การใช้ภาพยนตร์ สารคดีเพื่อพัฒนาสังคม เช่น ภาพยนตร์เพื่อการศึกษา ภาพยนตร์ข่าว ภาพยนตร์เพื่อการประชาสัมพันธ์ และภาพยนตร์เพื่อบริการสาธารณะ การนำความคิดและแรงบันดาลใจที่ได้จากเรื่องจริงมาสร้างเป็นภาพยนตร์สารคดี ปฏิบัติการถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี
3074303 การถ่ายทำภาพยนตร์บันเทิง 2(1–2)
Entertainment Films
วิวัฒนาการ ความสำคัญและบทบาทของภาพยนตร์บันเทิง เทคนิคการถ่ายทำภาพยนตร์บันเทิง ปฏิบัติการถ่ายทำภาพยนตร์บันเทิง
3074304 การถ่ายทำภาพยนตร์แอนิเมชั่น 2(1–2)
Animated Films
วิวัฒนาการ ประเภทและเทคนิคที่ใช้ในการสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่น ปฏิบัติการสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่น
3074501 การถ่ายทำภาพยนตร์ขั้นสูง 2(1–2)
Advanced Cinematography
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3073501 การถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้น
ศึกษาแนวปฏิบัติ และเทคนิคชั้นสูงที่ใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์ประเภทต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปฏิบัติการถ่ายทำภาพยนตร์
3074601 การบริหารงานภาพนิ่งและภาพยนตร์ 3(3–0)
Still Photography and Films Management
  หลักการบริหารงานภาพนิ่งและภาพยนตร์ด้านต่าง ๆ เช่น การวางแผน การบริหารบุคคล การจัดองค์กร การตลาด การเงินและการงบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตงานภาพยนตร์
3074602 จิตวิทยาในงานภาพนิ่งและภาพยนตร์ 2(2–0)
Psychology for Still Photography and Films
  ศึกษาจิตวิทยาบุคคลที่เกี่ยวกับการรับรู้ภาพและเสียง การวิเคราะห์ผู้รับสารในเชิงจิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการสร้างความสนใจ และลักษณะการโน้มน้าวใจในงานภาพนิ่งและภาพยนตร์
3074901 การศึกษารายบุคคลด้านภาพนิ่งและภาพยนตร์ 2(1–2)
Case Studies for Still Photography and Film
การศึกษาพิเศษเป็นรายบุคคลในเรื่องเกี่ยวกับภาพนิ่งและภาพยนตร์ โดยมีอาจารย์ และ/หรือผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา
3074902 โครงการพิเศษด้านภาพนิ่งและภาพยนตร์ 3(2–2)
Special Project in Photography and Cinematography
  การศึกษาพิเศษเป็นรายกลุ่มในเรื่องเกี่ยวกับภาพนิ่ง หรือภาพยนตร์ โดยมีอาจารย์ในภาควิชา และ/หรือผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา  
3074903 สัมมนาภาพนิ่งและภาพยนตร์ 3(2–2)
Seminar in Photography and Cinematography
  ความหมายของการสัมมนา จุดมุ่งหมาย องค์ประกอบ กระบวนการ รูปแบบ และเทคนิคการจัดสัมมนา ความหมายของภาพนิ่งและภาพยนตร์ ศึกษาวิเคราะห์และวิจารณ์ในการดำเนินงานภาพนิ่งและภาพยนตร์ เพื่อให้เข้าใจถึงอุปสรรคและข้อเท็จจริง ตลอดจนการหาแนวทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ของภาพนิ่งและภาพยนตร์ ฝึกจัดสถานการณ์จำลอง และ/หรือสถานการณ์จริงในการสัมมนาภาพนิ่งและภาพยนตร์

ก่อนหน้า ต่อไป