หมู่วิชาสัตวรักษ์ ซึ่งอยู่ในหมวดวิชาเกษตรศาสตร์ ได้จัดลักษณะเนื้อหาวิชา
ออกเป็น ดังนี้
1. โรคและปรสิตวิทยาของสัตว์
(505-1--)
2. กายวิภาคและสรีรวิทยา
(505-2--)
3. สัตวรักษ์ทั่วไป
(505-3--)
4. วิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์
(505-4--)
5. วิทยาภูมิคุ้มกัน
(505-5--)
6.
(505-6--)
7.
(505-7--)
8. การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
(505-8--)
9. โครงการพิเศษ/ปัญหาพิเศษ วิทยานิพนธ์โครงการศึกษาเอกเทศ การสัมมนาและการวิจัย
(505-9--)
รหัส |
ชื่อและคำอธิบายรายวิชา |
น.(ท-ป) |
5051101 |
โรคและการสุขาภิบาลสัตว์ทั่วไป
|
2(1-2) |
|
General Diseases and Sanitation
of Domestic Animals |
|
|
กระบวนการเกิดโรค
โรคและปรสิตที่สำคัญของสัตว์ปีก สัตว์เล็ก สัตว์ใหญ่ อาการของโรค
การตรวจวินิจฉัยและการป้องกันกำจัดโรคต่าง ๆ การสุขาภิบาลสัตว์
การทำความสะอาด อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ
|
|
5051102 |
ปรสิตวิทยา |
2(1-2) |
|
Parasitology |
|
|
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรสิต
ลักษณะวงจรชีวิต การแบ่งหมวดหมู่ และ สรีรวิทยาของปรสิต
ความเสียหายของสัตว์ที่เกิดจากปรสิต
การตรวจวินิจฉัยการป้องกันและการกำจัดปรสิต
|
|
5051103 |
พยาธิวิทยาทั่วไป |
2(1-2) |
|
General Pathology |
|
|
พยาธิวิทยาของเซลล์และเนื้อเยื่อ
พยาธิสภาพของอวัยวะในระบบต่าง ๆ ในร่างกายสัตว์ การผ่าซากเพื่อชันสูตรโรค
การเก็บตัวอย่างพยาธิเพื่อตรวจหาพยาธิสภาพเพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยโรค
|
|
5051201 |
กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์ |
3(2-2) |
|
Animal Anatomy and Physiology |
|
|
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4031301
สัตววิทยา |
|
|
ศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง
ๆ ในร่างกายสัตว์
|
|
5052101 |
โรคสัตว์สู่คน
|
2(1-2) |
|
Zoonosis |
|
|
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 5051101
โรคและการสุขาภิบาลสัตว์ทั่วไป |
|
|
การแบ่งชนิดโรคสัตว์สู่คน
โรคจากสัตว์ใหญ่ สัตว์เล็กและสัตว์ปีก การ ป้องกัน
|
|
5052301 |
เภสัชวิทยาเบื้องต้น |
2(2-0) |
|
Introduction to Pharmacology |
|
|
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4021101
เคมีทั่วไป l |
|
|
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของยา การเปลี่ยนแปลง การขับถ่าย
การเกิดปฏิกิริยาของยาในร่างกายของสัตว์ การใช้ยาประเภทต่าง ๆ
รวมถึงอาหารเสริมและสารเร่งการเจริญเติบโต
|
|
5052302 |
ศัลยศาสตร์เบื้องต้น
|
2(2-0) |
|
Introduction to Animal Surgery |
|
|
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 5051201
กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์ |
|
|
การเตรียมตัวสัตว์ก่อนทำศัลยกรรม ข้อบ่งชี้ในการบำบัด
ชนิด การเกิด การหาย การรักษาแผล การห้ามเลือด การผ่าตัดอย่างง่าย
อุปกรณ์และวิธีการทางศัลยกรรม อาการแทรกซ้อนหลังการดำเนินงาน
การดูแลภายหลังการวางยา การดูแลสัตว์หลังผ่าตัด
|
|
5052303 |
การบังคับสัตว์ |
1(0-2) |
|
Restraint of Animals |
|
|
วิธีการบังคับควบคุมสัตว์ต่าง ๆ
สำหรับการตรวจและการรักษา
|
|
5053101 |
โรคและการสุขาภิบาลสัตว์ปีก |
2(1-2) |
|
Avian Diseases and Sanitation |
|
|
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 5051101
โรคและการสุขาภิบาลสัตว์ทั่วไป |
|
|
โรคและปรสิตที่สำคัญของสัตว์ปีก
อาการของโรค วิธีการตรวจวินิจฉัย แนวทางการรักษา
การป้องกันกำจัดโรคและการสุขาภิบาล
|
|
5053102 |
โรคและการสุขาภิบาลสัตว์เล็ก |
2(1-2) |
|
Small Animal Diseases and
Sanitation |
|
|
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 5051101
โรคและการสุขาภิบาลสัตว์ทั่วไป |
|
|
โรคและปรสิตที่สำคัญของสัตว์เล็ก
อาการของโรค วิธีการตรวจวินิจฉัย แนวทางการรักษา
การป้องกันกำจัดโรคและการสุขาภิบาล
|
|
5053103 |
วิทยาการระบาดและการป้องกันควบคุมโรคในสัตว์เลี้ยง |
3(3-0) |
|
Epidemiology and Animal Diseases
Control |
|
|
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4032601
จุลชีววิทยา |
|
|
หลักระบาดวิทยา ลักษณะของโรคระบาด
การระบาดของโรคเนื่องจากเชื้อ จุลินทรีย์ วิธีการระบาด วงจรการระบาดของโรค
การป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์ และโรคที่มีความสำคัญต่อชุมชน
|
|
5053201 |
กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์ปีก |
2(1-3) |
|
Avian Anatomy and Physiology |
|
|
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 5051201
กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์ |
|
|
ศึกษาเกี่ยวกับกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบต่าง
ๆ รวมทั้งกลไกหรือปฏิกิริยาทางชีวเคมีของการเผาผลาญอาหาร
กลไกการควบคุมอุณหภูมิในร่างกายสัตว์ปีก
เพื่อนำเอาความรู้และเทคนิคไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในการเลี้ยงสัตว์ปีก
|
|
5053202 |
กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์เล็ก |
2(1-3) |
|
Small Animal Anatomy and
Physiology |
|
|
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 5051201
กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์ |
|
|
ศึกษาเกี่ยวกับกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบต่าง
ๆ รวมทั้งกลไก หรือปฏิกิริยาทางชีวเคมีของการเผาผลาญอาหาร
กลไกการควบคุมอุณหภูมิในร่างกายสัตว์เล็กเพื่อนำเอาความรู้และเทคนิคไปใช้ในการแก้ปัญหาในการเลี้ยงสัตว์เล็ก
|
|
5053301 |
กฏหมายเกี่ยวกับการปศุสัตว์ |
2(2-0) |
|
Livestock Legislation |
|
|
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมาย
พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการปศุสัตว์ และสัตว์ในประเทศไทย
และหลักเกณฑ์การจัดตั้งฟาร์มเลี้ยงโค กระบือ เพื่อ ส่งออก
|
|
5053302 |
หลักการส่งเสริมการปศุสัตว์ |
3(3-0) |
|
Principles of Livestock Extension |
|
|
ความหมาย ความสำคัญ
และขอบเขตของการส่งเสริมการปศุสัตว์
ปรัชญาหลักการและวิธีการส่งเสริมปศุสัตว์
การวางแผนและการประเมินผลสำเร็จในงาน ส่งเสริมการปศุสัตว์
ปัญหาอุปสรรคในการส่งเสริมการปศุสัตว์ และแนวทางแก้ไข
|
|
5053502 |
วิทยาภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์เลี้ยง |
2(2-0) |
|
Immunology of Domestic Animal |
|
|
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4032601
จุลชีววิทยา |
|
|
กลไกการป้องกันการติดเชื้อของร่างกายโดยทั่วไป
ความต้านทานโรคและการสร้างความต้านทานโรคแบบต่าง ๆ
การตอบสนองต่อสารที่เข้าสู่ร่างกาย ภูมิแพ้ และช็อคแอนติเจนแอนติบอดี้ วัคซิน
การทดสอบโรคสัตว์โดยวิธีซีรัมวิทยา
|
|
5053801 |
การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
วิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ 2 |
2(90) |
|
Preparation for Professional
Experience in Animal Health Science |
|
|
จัดให้มีกิจกรรม
เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนออกฝึกประสบ-การณ์วิชาชีพทางวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ในด้านการรับรู้ลักษณะและโอกาสของ
การประกอบอาชีพ การพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจและ
คุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพโดยการกระทำในสถานการณ์ หรือรูปแบบ ต่าง ๆ
ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานในวิชาชีพนั้น ๆ
|
|
5054101 |
โรคและการสุขาภิบาลสัตว์ใหญ่ |
2(1-3) |
|
Large Animal Diseases and
Sanitation |
|
|
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 5051101
โรคและการสุขาภิบาลสัตว์ทั่วไป |
|
|
โรคและปรสิตที่สำคัญของสัตว์ใหญ่
อาการของโรค วิธีการตรวจวินิจฉัยแนวทางการรักษา
การป้องกันกำจัดโรคและการสุขาภิบาล
|
|
5054102 |
โรคและปรสิตของสัตว์น้ำ |
2(2-0) |
|
Diseases and Parasites of Aquatic
Animals |
|
|
โรคและปรสิตของสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ สาเหตุของโรค
การวินิจฉัยโรคและแนวทางการรักษาเบื้องต้น
|
|
5054201 |
กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์ใหญ่ |
2(1-3) |
|
Large Animal Anatomy and Physiology |
|
|
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 5051201
กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์ |
|
|
ศึกษาเกี่ยวกับกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ
รวมทั้งกลไก หรือปฏิกิริยาทางชีวเคมีของการเผาผลาญอาหาร
กลไกการควบคุมอุณหภูมิในร่างกายสัตว์ใหญ่
เพื่อนำความรู้และเทคนิคไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในการเลี้ยงสัตว์ใหญ่
|
|
5054301 |
สูติศาสตร์และเธนุเวชวิทยา |
2(1-2) |
|
Theriogynology |
|
|
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 5051201
กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์ |
|
|
การตั้งครรภ์ การคลอด
และการช่วยเหลือในการคลอด การแท้งและสาเหตุ การตรวจท้อง
การดูแลลูกสัตว์แรกเกิด การผสมเทียม การสังเกตการเป็นสัด ช่วงเวลาในการผสม
การตกไข่ การเป็นหมัน
|
|
5054401 |
มาตรฐานคุณภาพและการตรวจสอบผลิตภัณฑ์นม |
2(1-3) |
|
Quality Standard and Milk Product
Control |
|
|
การควบคุมการผลิต ขบวนการผลิต
การเก็บรักษา การกระจาย และการตลาดของผลิตภัณฑ์น้ำนม
|
|
5054402 |
สาธารณสุขศาสตร์ทางสัตวแพทย์ |
2(1-2) |
|
Veterinary Public Health |
|
|
ความหมาย และขอบเขตของงานสัตวแพทย์ในด้านสาธารณสุข
การตรวจวินิจฉัย
การป้องกันและควบคุมชนิดของอาหารที่กำเนิดจากสัตว์ที่ก่อให้เกิดโรคและเป็นพิษในมนุษย์และสัตว์
การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานอาหารที่กำเนิดจากสัตว์
การควบคุมด้านสุขาภิบาลในโรงงานฆ่าสัตว์และโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้จากสัตว์
|
|
5054403 |
สุขศาสตร์เนื้อสัตว์ |
3(3-0) |
|
Meat Hygiene |
|
|
ความหมาย และความสำคัญของสุขาภิบาล การสุขาภิบาล
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
ตลอดจนการจัดการสุขศาสตร์ของเนื้อสัตว์
ควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยสำหรับการบริโภค
|
|
5054802 |
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ 2 |
3(250) |
|
Field Experience in Animal Health
Science |
|
|
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางการเกษตร
ในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ ณ สถานที่ซึ่งสถาบันเห็นสมควร
จนทำให้เกิดทักษะ ความรู้ ความเชื่อมั่นในตนเอง มีการเสนอผลงาน
รายงานและต้องผ่านการประเมินผลของสถาบัน
|
|
5054901 |
ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ |
3(3-0) |
|
Special Problems |
|
|
การค้นคว้าและวิจัยงานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ และเสนอรายงาน
|
|
5054902 |
สัมมนาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ |
1(0-2) |
|
Seminar in Animal Health Science |
|
|
ค้นคว้าข้อมูลปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ รวบรวม วิเคราะห์
ปัญหาเรียบเรียง เสนอรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม |
|