รหัส |
ชื่อและคำอธิบายรายวิชา |
น(ท-ป) |
1511101 |
ปรัชญาเบื้องต้น
Introduction to Philosophy |
2(2-0) |
|
ศึกษาความหมาย ลักษณะและขอบข่ายแนวคิดทางปรัชญา
ปัญหาสำคัญในปรัชญา สาขาอภิปรัชญา ทฤษฎีความรู้จริยศาสตร์ และตรรกศาสตร์
ปรัชญาชีวิตของคนไทยที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย |
1511601 |
ตรรกวิทยาทั่วไป
General Logic |
2(2-0) |
|
ศึกษาลักษณะของเหตุผล
การวิเคราะห์ความหนักแน่นของเหตุผลแบบอุปนัย และแบบนิรนัยการนำเอาความรู้
ความเข้าใจเรื่องเหตุผลไปใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม
|
1512101 |
ปรัชญากรีก
Greek Philosophy |
2(2-0) |
|
ศึกษาแนวคิดของปรัชญากรีก ตั้งแต่ยุคก่อตัว
ยุครุ่งเรืองและยุคเสื่อมเกี่ยวกับ ทฤษฎีความรู้ ความจริงและคุณค่า
ตลอดถึงบทบาทของนักปราชญ์คนสำคัญ
|
1512102
|
ปรัชญาจีนและญี่ปุ่น
Chinese and Japanese Philosophy |
2(2-0) |
|
ศึกษาแนวคิดของลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื้อ ลัทธิเซ็น และลัทธิบูชิโด เกี่ยวกับ
หลักการดำเนินชีวิตที่ดีอุดมคติของชีวิต
ตลอดจนความเชื่อเรื่องพิธีกรรมระบบต่าง ๆ
|
1512401 |
จริยศาสตร์
Ethics |
3(3-0) |
|
ศึกษาทรรศนะและเหตุผลของศาสดาและปรัชญาเมธีที่สำคัญ เกี่ยวกับเรื่อง
อุดมคติชีวิต และดมการณ์ของชีวิต และสังคม บาป บุญ คุณ โทษ ความถูก ความผิด
ความควร ไม่ควร ทางจริยธรรม มาตรฐานที่ใช้ตัดสินปัญหาทางจริยธรรม |
1513101
|
พุทธปรัชญา
Buddhist Philosophy |
2(2-0) |
|
ศึกษาความหมาย
และขอบข่ายของพุทธปรัชญา ลักษณะทั่วไปของพุทธปรัชญา โดยเปรียบเทียบ
กับปรัชญาสาขาอื่น ๆ สาระสำคัญของพุทธปรัชญา
โดยเฉพาะทรรศนะเกี่ยวกับโลกและชีวิต ความสุข ความหลุดพ้น
แนวคิดที่เป็นพื้นฐานของจริยธรรม |
1513102 |
ปรัชญาสมัยกลาง สมัยใหม่ และร่วมสมัย
Mediaeval Modern and Contemporary Philosophy |
2(2-0) |
|
ศึกษาแนวความคิดของปรัชญายุคกลาง ยุคใหม่ และยุคร่วมสมัย เกี่ยวกับทฤษฎี
ความรู้ ความจริง โดยมุ่งเน้นความคิดของนักปรัชญา
และลัทธิที่มีชื่อเสียงของแต่ละยุค
|
1513301 |
ญาณวิทยา
Epistemology |
2(2-0) |
|
ศึกษาความหมายของญาณวิทยา ทรรศนะเกี่ยวกับปัญหาที่มนุษย์สัมพันธ์กับโลก
กำเนิดความรู้ ตามทฤษฎีต่าง ๆ ธรรมชาติของความรู้ ประเภทของความรู้
ขอบเขตของความรู้ และทฤษฎีของความรู้ในพุทธปรัชญา |
1513701 |
ปรัชญาการเมือง เศรษฐศาสตร์ และสังคม
Philosophy of Politics, Economy and Society |
2(2-0) |
|
ศึกษาความหมายและขอบเขตของปรัชญาการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคม
ระบบเศรษฐกิจและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
ปัญหาอันเป็นผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตย
การใช้จริยธรรมและศีลธรรมเป็นบรรทัดฐานในการแก้ปัญหา |