รหัสและคำอธิบาย  >> หมวดวิชามนุษยศาสตร์

ก่อนหน้า ต่อไป

: : หมู่วิชาศาสนาและเทววิทยา : :

หมู่วิชาศาสนาและเทววิทยา ซึ่งอยู่ในหมวดวิชา มนุษยศาสตร์ ได้จัดลักษณะเนื้อหาวิชาออกเป็น ดังนี้
              1. ศาสนาและเทววิทยา (152-1--)
              2. ศาสนาพุทธ (152-2--)
              3. ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู (152-3--)
              4. ศาสนาคริสต์ (152-4--)
              5. ศาสนาอิสลาม (152-5--)
              6. (152-6--)
              7. (152-7--)
              8. การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (152-8--)
              9. โครงการพิเศษ ปัญหาพิเศษ วิทยานิพนธ์ โครงการศึกษาเอกเทศ การสัมมนา และการวิจัย (152-9--)

หมู่วิชาศาสนาและเทววิทยา (152)

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

น(ท-ป)

รหัสใหม่

รหัสเก่า

1521101

1521201

1521202

1521203

1521204

1521205

1521206

1521207

1521208

1521209

1521210

1522101

1522201

1522202

1522203

1522204

1522205

1522206

1522207

1522208

1522209

1522210

1522211

1522212

1522213

1522214

1522215

1522216

1522217

1523101

1523201

1523202

1523203

1523204

 

 

1523205

1523206

1523207

1523208

 

 

1523209

 

1523210

1523211

1523212

1523213

1523214

1523215

1523216

1523217

1523218

1523301

1523417

1523501

 

 

1524201

1524202

1524203

1524204

1524205

1524206

1524207

1524401

 

 

 

 

1524901

1524902

1524903

2671112

-

-

-

-

-

-

-

-

-

2671202

2672205

2670201

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

2673209

-

-

-

-

 

 

-

-

-

-

 

 

-

 

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

1524401

2674219

2674221

-

-

-

-

-

-

1523501

2673213

1524501

2674218

1524502

2674215

-

-

-

ปรัชญาและศาสนา

ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก

หลักธรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา

การเจริญภาวนา

ความรู้เกี่ยวกับพระสงฆ์

พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตและสังคม

พระพุทธศาสนากับสังคมไทย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาบาลี

ศัพท์พุทธศาสตร์

จริยธรรมกับชีวิต

ศาสนปฏิบัติ

พุทธศาสน์

พุทธประวัติเชิงวิเคราะห์

พระอภิธรรมเบื้องต้น

พระพุทธศาสนากับสถานการณ์ปัจจุบัน

พุทธศาสนพิธี

พระพุทธศาสนากับปรัชญา

พระพุทธศาสนากับสุขภาพ

วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม

สมถภาวนา

กรรม สังสารวัฏ และนิพพาน

พุทธศึกษาศาสตร์

พุทธจิตวิทยา

พุทธสังคมวิทยา

พุทธรัฐศาสตร์

พุทธเศรษฐศาสตร์

พระพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษ 1

สารนิพนธ์ทางพระพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษ 1

ศาสนาเปรียบเทียบ

จริยศึกษาสำหรับครูประถมศึกษา

การศึกษาวิเคราะห์พุทธสาวก สาวิกาและชาวพุทธตัวอย่าง

การศึกษาวิเคราะห์วิธีสอนของพระพุทธเจ้า

ความสำคัญและความจำเป็นของการศึกษาวิชาพระพุทธ

ศาสนา

วิปัสสนาภาวนา

พุทธศิลป์

ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

การสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนวิชาพระพุทธ

ศาสนา

การสังคมสงเคราะห์และการแก้ปัญหาสังคมตามหลักพระ

พุทธศาสนา

พระพุทธศาสนากับจรรยาทางธุรกิจ

พุทธศาสนสุภาษิต

พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

พระพุทธศาสนากับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

พระพุทธศาสนากับโลกาภิวัตน์

พระพุทธศาสนากับการพัฒนาแบบยั่งยืน

พระพุทธศาสนากับสันติภาพ

พุทธประวัติภาคภาษาอังกฤษ

พระพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษ 2

ฮินดูธรรมและพิธีกรรม

วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาของไทย

คริสตธรรมและพิธีกรรม

ศาสนาคริสต์

ธรรมวิจารณ์

การฝึกสมาธิสำหรับผู้สูงอายุ

การฝึกสมาธิ

ศึกษาเปรียบเทียบเถรวาทกับอาจริยวาท

การให้คำปรึกษาและการแนะแนวตามหลักพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนากับสิ่งเหนือธรรมชาติ

สารนิพนธ์ทางพระพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษ 2

อิสลามธรรมและพิธีกรรม

ศาสนบัญญัติ 2 (อิสลาม)

ศาสนบัญญัติ 2 (อิสลาม)

ศาสนาอิสลาม

ศาสนาอิสลาม

วัฒนธรรมและสังคม (อิสลาม)

วัฒนธรรมและสังคม (อิสลาม)

สัมมนาพระพุทธศาสนา

การศึกษาเอกเทศด้านพระพุทธศาสนา

การทำภาคนิพนธ์ทางพุทธศาสนา

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(1-2)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(1-2)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(1-2)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

3(3-0)

2(1-2)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

 

2(1-2)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

 

2(2-0)

 

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

3(3-0)

2(2-0)

3(3-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(1-2)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

3(3-0)

3(3-0)

3(3-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(2-0)

2(1-2)

2(2-0)

2(2-0)

 

คำอธิบายรายวิชา
หมู่วิชาศาสนาและเทววิทยา (152)

รหัส  ชื่อและคำอธิบายรายวิชา  น(ท-ป)
1521101  ปรัชญาและศาสนา
Philosophy and Religion
2(2-0)
                        ศึกษาองค์ประกอบ ความหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับศาสนา สำคัญของโลก อาทิพุทธศาสนา คริสตศาสนา อิสลาม พราหมณ์-ฮินดู หลักจริยธรรมสำคัญของศาสนาดังกล่าวในชีวิตประจำวัน
 
1521201 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
History of Buddhism
2(2-0)
                        ศึกษาประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา ตั้งแต่กำเนิดของพระพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาลพุทธประวัติโดยสังเขป ประวัติคณะสงฆ์ การสังคายนาครั้งต่าง ๆ การเผยแพร่ การขยายตัว และการ ถดถอยของพระพุทธศาสนา การแยกนิกายเป็น เถรวาทและอาจริยวาท ความแตกต่างระหว่างสองนิกาย โดยย่อประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย และความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติไทย
1521202 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก
Introduction to the Tiptaka
2(2-0)
                         ศึกษาความหมายของพระไตรปิฎก ความเป็นมาและการจำแนกหมวดหมู่ โครงสร้างและเนื้อหา  โดยสังเขปของพระไตรปิฎก ประเภทและลำดับขั้นของคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ฐานะและความสำคัญของพระไตรปิฎกและคัมภีร์ชั้นรอง ตลอดจนวิธีการและการทดลองค้นคว้าพระไตรปิฎกและคัมภีร์ชั้นรองศึกษาสาระสำคัญ โดยย่อของพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก
1521203 หลักธรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา
Buddhist Essential Teachings
2(2-0)
                         ศึกษาหลักธรรมสำคัญที่เป็นแกนกลางของพุทธธรรมหรือหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ได้แก่ อริยสัจจ์ 4 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาทกรรม สังสารวัฏอริยมรรคมีองค์ 8 ไตรสิกขาโพธิปักขิยธรรม 37 และนิพพาน ทั้งนี้โดยให้ทราบความหมาย ฐานะและความสำคัญ การนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนแง่มุมทางด้านสังคมของหลักธรรมนั้น ๆ ด้วย
1521204  การเจริญภาวนา
Mental Development
2(1-2)
                        ศึกษาความหมายและประเภทของภาวนา วิธีการของสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา การฝึกปฏิบัติในภาวนาทั้ง 2 ประเภท และให้มีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ เพียงพอที่จะเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติภาวนา และการเจริญภาวนาในชีวิตประจำวัน
1521205 ความรู้เกี่ยวกับพระสงฆ์
Introduction to the Sangha
2(2-0)
                        ศึกษาความหมายและประเภทของพระสงฆ์ ประวัติของคณะสงฆ์ ฐานะบทบาท และความสำคัญของพระสงฆ์ต่อพระพุทธศาสนาและสังคมในครั้งพุทธกาล ประวัติและความเป็นมาของคณะสงฆ์ไทยโดย สังเขป โครงสร้างการปกครองและการบริหารคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน สาระสำคัญของพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ ความสำคัญและคุณูปการของสถาบันสงฆ์ต่อสังคมไทย ชีวิตความเป็นอยู่และกิจวัตรของพระสงฆ์ การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์ โดยการให้ผู้ศึกษามีประสบการณ์ตรงจากการฝึกปฏิบัติในวัดเช่น การไปวัดทำบุญ และฟังธรรมในวันอุโบสถ การช่วยพัฒนาวัดหรือการบรรพชาอุปสมบท เป็น ต้น
1521206  พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตและสังคม
Buddhist Ethics for Life and Society
2(2-0)
                        ศึกษาพุทธจริยธรรมในฐานะเป็นธรรมนูญสำหรับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม เพื่อความเป็นสมาชิกที่ดีของมนุษยชาติ สังคม ชุมชนและรัฐ ตลอดจนเป็นผู้นำรัฐที่ดี การดำเนินชีวิตที่ดี มีความมั่นใจและประสบความสำเร็จ คุณสมบัติและบทบาทที่ถูกต้องของผู้ที่อยู่ในฐานะเป็นผู้ครองเรือน คู่ครอง หัวหน้าครอบครัว ทายาท มิตรสหาย ลูกจ้าง นายจ้าง ครูอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา อุบาสก อุบาสิกา และพระภิกษุสงฆ์ ตลอดจนลักษณะการดำเนินชีวิตของผู้บรรลุจุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน
1521207 พระพุทธศาสนากับสังคมไทย
Buddhism and Thai Society
2(2-0)
                        ศึกษาความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติไทย คือ เป็นศาสนาของ ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นแกนนำและเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทย เป็นศูนย์รวมจิตใจทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่ชนชาวไทย เป็นหลักการที่ช่วยดำรงรักษาเสรีภาพในการนับถือศาสนาเป็นสถาบันคู่ชาติและพระมหากษัตริย์ สอดคล้องกับลักษณะนิสัยของคนไทยที่รักความอิสระเสรี เป็นแหล่งสำคัญที่หล่อหลอมเอกลักษณ์ของชาติไทย เป็นมรดกและเป็นคลังสมบัติอันล้ำค่าของชนชาติไทยเป็นหลักนำทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาชาติไทย และเป็นแหล่งของดีมีค่าที่ชนชาติทยมอบให้แก่ อารยธรรมของโลก
1521208 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาบาลี
Introduction to Pali
2(2-0)
                        ศึกษาความสำคัญของภาษาบาลีที่มีต่อพระพุทธศาสนา อ่านและเขียนบาลีได้อย่างถูกต้อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไวยากรณ์บาลี ฝึกให้สามารถค้นคว้า พจนานุกรมบาลี และเข้าใจความหมายของคำบาลี ที่สำคัญและพบบ่อย ตลอดจนความหมายที่ถูกต้องของศัพท์บาลีที่เป็นพื้นฐานของหลักธรรมที่สำคัญของพระพุทธศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาบาลีกับภาษาไทย
1521209 ศัพท์พุทธศาสตร์
Buddhist Glossaries
2(2-0)
                        ศึกษาศัพท์ธรรมะทางพระพุทธศาสนาที่นิยมใช้กันแพร่หลายในภาษาอังกฤษ และถูกต้องตามหลักธรรมดั้งเดิม ศึกษาศัพท์ใหม่ที่เกิดขึ้นในยุคหลัง และสามารถนำศัพท์เหล่านั้นมาใช้อธิบายหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่ชาวต่างประเทศ ได้จัดให้มีการฝึกทั้งภาคการเขียน การสนทนา การตอบปัญหา และการบรรยาย
1521210 จริยธรรมกับชีวิต
Moral and Life
2(2-0)
                        ศึกษาความหมายของจริยธรรมกับมนุษย์ จริยธรรมกับการครองชีวิต จริยธรรมแบบพุทธ วิธีการแห่งปัญญาในการพัฒนาตนเองในด้านคุณธรรม การฝึกปฏิบัติตนเองกับสังคมในชีวิตประจำวัน
 
1522101 ศาสนปฏิบัติ
Religions Rites
2(2-0)
                        ศึกษาสังกัปที่สำคัญของพิธีกรรมในศาสนาที่คนไทยนับถือ วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในพิธีกรรมของศาสนานั้น ๆ ประโยชน์ของพิธีกรรม การทำนุบำรุงส่งเสริมพิธีกรรม ตลอดจนวิธีการอนุรักษ์สืบทอดพิธีกรรมที่มีคุณค่าต่อสังคม
1522201 พุทธศาสน์
Buddhism
2(2-0)
                         ศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ และลักษณะของพุทธศาสนา หลักเบญจขันธ์ ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท หลักกรรม อริยสัจ ไตรสิกขา กัลยาณมิตรธรรมและจริยธรรม เน้นการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน การรู้จักตนเอง การพัฒนาคนและการพัฒนาสังคม
1522202 พุทธประวัติเชิงวิเคราะห์
An Analytical Study of the Biography of the Buddha
 2(2-0)
                        ศึกษาความหมายและประเภทของพระพุทธเจ้า พุทธการกธรรม (ทศบารมี)ภูมิหลังของสังคมอินเดียซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของพระพุทธเจ้า การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าในแง่วิวัฒนาการของศาสนา พระพุทธเจ้าในฐานะเป็นองค์แห่งพระรัตนตรัย ความเป็นพระบรมศาสดาและเทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า
1522203 พระอภิธรรมเบื้องต้น
Introduction to Abhidhamma
2(2-0)
                        ศึกษาโครงสร้างและสาระสำคัญของพระอภิธรรมปิฎก และศึกษาสาระของพระอภิธรรมตามแนวคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะ ตลอดจนการนำพระอภิธรรมมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
 
1522204 พระพุทธศาสนากับสถานการณ์ปัจจุบัน
Buddhism and Current Situations
2(2-0)
                        ศึกษาสภาวการณ์ปัจจุบันของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยและในโลก โดยวิเคราะห์ศาสนธรรม ศาสนบุคคล ศาสนวัตถุ และศาสนพิธี ว่ามีสอดคล้องถูกต้องตามพระธรรมวินัยหรือไม่ และองค์กร ต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนามีความเข้มแข็งมากน้อยเพียงใด ภาวะเสื่อมโทรมในวงการพระพุทธศาสนา ในประเทศไทย พร้อมทั้งสาเหตุและวิธีแก้ไข ตลอดจนบทบาทและคุณูปการของพระพุทธศาสนาในการ แก้ไขปัญหาสำคัญ ๆ ของไทยและของโลก
1522205 พุทธศาสนพิธี
Buddhist Ceremonies
2(1-2)
                         ศึกษาพิธีกรรมต่าง ๆ ในทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งการทำวัตรสวดมนต์เทศกาลและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยให้ทราบถึงความเป็นมา ความหมายขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ ตลอดจนการ ปฏิบัติจริงจนสามารถปฏิบัติได้เองอย่างถูกต้องและนำผู้อื่นได้ โดยเฉพาะให้เน้นถึงเนื้อหาสาระที่พิธีกรรมนั้น ๆ เป็นเครื่องสื่อความหมาย เพื่อมิให้พิธีกรรมเป็นเพียงรูปแบบที่ว่างเปล่า ทั้งนี้รวมถึงข้อปฏิบัติและมารยาทของชาวพุทธ
1522206 พระพุทธศาสนากับปรัชญา
Buddhism and Philosophy
2(2-0)
                        ศึกษาพระพุทธศาสนาในแง่ของปรัชญาสาขาต่าง ๆ ได้แก่ อภิปรัชญา ญาณวิทยา จริยศาสตร์ ตรรกวิทยา และสุนทรียศาสตร์ พร้อมทั้งเปรียบเทียบพระพุทธศาสนากับปรัชญาอื่น ๆ ที่สำคัญของโลกเพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับปรัชญา ให้ทราบถึงลักษณะเด่น ของพระพุทธศาสนา เช่น มีคำสอนเป็นกลาง ปฏิบัติสายกลาง มีหลักการเป็นความจริงสากลที่พิสูจน์ได้ ตลอดกาล
1522207 พระพุทธศาสนากับสุขภาพ
Buddhism and Health
2(2-0)
                        ศึกษาหลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่ส่งเสริมสุขภาพจิต และสุขภาพกาย หลักการดำเนินชีวิตแบบทางสายกลางอันเป็นการอยู่พอดี กินพอดี ซึ่งเป็นพื้นฐานของสุขภาพจิตและสุขภาพกาย การรู้เท่าทันธรรมชาติของสิ่งทั้งปวงตามหลักไตรลักษณ์ ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตและสุขภาพกาย พุทธวิธีเสริมสุขภาพตามหลักโพชญงค์ 7 สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานในฐานะเป็นพื้นฐานที่สมบูรณ์ของสุขภาพจิตและสุขภาพกายชั้นสูงสุด การฝึกกายบริหารแบบกำหนดสติปัฎฐาน 4 ประกอบ
1522208  วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม
Buddhist Methods of Thinking
2(2-0)
                        ศึกษาเกี่ยวกับวิธีคิดตามหลักพุทธธรรม ฐานะของความคิดในระบบการดำเนินชีวิตที่ดีและใน กระบวนการของการศึกษา ความสำคัญและความหมายของโยนิโสมนสิการ 10 แบบ พร้อมทั้งให้ผู้ศึกษากิจกรรมเพื่อทดลองนำโยนิโสมนสิการ 10 แบบนั้นมาใช้ในการเรียนการสอนและการดำเนินชีวิตประจำวัน
1522209 สมถภาวนา
Tranquility Meditation
2(1-2)
                        ศึกษาบุพพกิจ การเจริญสมถภาวนา และผลของสมถภาวนา จริต 6 ปลิโพธ 10 กรรมฐาน 40   ฌาณ 4 ฌาณ 5 อภิญญา 5 (โลกิยอภิญญา) ตลอดจนการฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้ศึกษามีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับสมถภาวนาอย่างถูกต้องและเหมาะสม ประโยชน์ของสมถภาวนาในการนำมาประยุกต์ใช้กับการ ดำเนินชีวิตประจำวัน และการบริหารกิจกรรมต่าง ๆ
1522210  กรรม สังสารวัฏ และนิพพาน
Kamma Samsara and Nibbana
2(2-0)
                        ศึกษากฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนา ปฏิจจสมุปบาท วัฏฏะ 3 กรรม 2กรรม 3 กรรม 12 สมบัติ   4 วิบัติ 4 กรรม 16 กรรมในฐานะเจตจำนงที่เป็นตัวสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมมนุษย์ ข้อควรทราบเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดในเรื่องกฎแห่งกรรม ความแตกต่างระหว่างการเกิดใหม่ตามหลักพระพุทธศาสนากับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาอื่น ๆ คุณค่าทางจริยธรรมของกฎแห่งกรรม เน้นให้ผู้ศึกษามีความเชื่อและมีพฤติกรรมอย่างมั่นคงในการละความชั่ว ทำความดี ทำใจให้ผ่องใส ตัวอย่างกฎแห่งกรรมจากเอกสารหรือจากประสบการณ์ วิวัฏฏคามินีกุศลและนิพพานในฐานะเป็นภาวะเป็นสมบัติปลอดพ้นจากปัญหา และข้อบกพร่องทุกประการอันเป็นจุดหมายสูงสุด
1522211 พุทธศึกษาศาสตร์
Buddhist Education
2(2-0)
                        ศึกษาแรงจูงใจอันเป็นจุดกำเนิดของการศึกษาตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา การศึกษาในฐานะของการพัฒนาจากความอยู่รอดด้วยกิเลสมาสู่ความอยู่ดีด้วยปัญญา การศึกษาในฐานะการพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุขและแผ่ขยายความสุข ความมุ่งหมายของการศึกษา แกนนำและหลักแม่บท ของการศึกษากระบวนการของการศึกษา มองการศึกษาในมิติต่างๆตามหลักของพระพุทธศาสนา
1522212 พุทธจิตวิทยา
Buddhist Psychology
2(2-0)
                        ศึกษาความแตกต่างระหว่างจิตวิทยาตะวันตกกับพระพุทธศาสนาธรรมชาติและการทำงานของจิตและเจติสิก ที่มาและลักษณะปัญหาจิตใจของคนในปัจจุบันความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์และจุดหมายของชีวิตตามหลักของพระพุทธศาสนา การแก้ปัญหาทางจิตจากสังคมและจากตัวบุคคลอย่างมีกระบวนวิธีและเป็น ระบบตามหลักพุทธธรรม การประยุกต์พุทธจิตวิทยาเพื่อใช้ในด้านต่าง ๆ
1522213 พุทธสังคมวิทยา
Buddhist Sociology
2(2-0)
                         ศึกษาสังคมตามอุดมคติของพระพุทธศาสนา ความสัมพันธ์และความรับผิดชอบทางสังคม หลักความสัมพันธ์ระหว่างภิกษุกับคฤหัสถ์ และคฤหัสถ์กับคฤหัสถ์ การพึ่งพาอาศัยกันระหว่างการบรรลุธรรมส่วนบุคคลกับความดีงามทางสังคม วินัยของคฤหัสถ์ ค่านิยมแบบพุทธ สิทธิสตรีในพระพุทธศาสนา
 
1522214 พุทธรัฐศาสตร์
Buddhist Political Science
2(2-0)
                        ศึกษาการปกครองในอุดมคติตามหลักพระพุทธศาสนา ธรรมะสำหรับผู้นำรัฐ ธรรมะสำหรับสมาชิกที่ดีของรัฐ ของสังคมและของชุมชน หลักอธิปไตย 3 การปกครอง ทุกระบอบมีจุดสมบูรณ์ที่ธรรมาธิปไตย ลักษณะของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่พัฒนาถึงระดับธรรมาธิปไตยแล้ว ความสัมพันธ์อันเหมาะสมระหว่างรัฐกับคณะสงฆ์ และพระพุทธศาสนาในอดีตและปัจจุบัน แนวทางการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
1522215 พุทธเศรษฐศาสตร์
Buddhist Economics
2(2-0)
                        ศึกษาแนวคิดแบบพุทธเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ พุทธจริยธรรมทางด้านเศรษฐกิจ ฐานะทางเศรษฐกิจตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ความสำคัญและความสัมพันธ์ของเศรษฐกิจในระบบพุทธธรรม ความต้องการในทรรศนะของเศรษฐศาสตร์และพุทธศาสตร์ จากคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม สู่พฤติกรรมในการบริโภคลักษณะสำคัญของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจต่าง ๆ ด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
1522216 พระพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษ 1
Buddhism in English 1
2(2-0)
                        ศึกษาเป็นภาคภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา คำสอนทางพระพุทธศาสนาสำหรับฆราวาส เช่น ศีล 5 ศีล 8 ฆราวาสธรรม บุญ กริยาวัตถุและกฎแห่งกรรม ให้ผู้ศึกษาฝึกการเขียนและพูดธรรมะดังกล่าวในภาคอังกฤษ
                      Study the history of Buddhism and the Buddhist Teaching for laypeople such as the Five  Precepts, the Eight Precepts, virtues for a good household life, bases of meritorious action, and   karma. Including practice in written and spoken English of those Dhammas
1522217  สารนิพนธ์ทางพระพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษ 1
Selected Texts on Buddhism 1
2(2-0)
                        ศึกษาตำราเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในภาคภาษาอังกฤษที่เขียนโดย นักวิชาการผู้ที่มีชื่อเสียง ของโลก ในเรื่องหลักพุทธธรรม ในเรื่องสังคมและเศรษฐกิจ ให้ผู้ศึกษาฝึกการเขียนและพูดธรรมะดัง กล่าวในภาคภาษาอังกฤษ
                      Study Buddhist work concerning Buddhist Teachings society and economics written in  English by famous writers of the world. Including practice in written and spoken English of those  Dhammas.
1523101 ศาสนาเปรียบเทียบ
Comparative Religions
3(3-0)
                        ศึกษาประวัติของศาสนาต่าง ๆ รวมทั้งศาสดา หลักคำสอน เป้าหมาย วิธีการโดยการศึกษาเปรียบเทียบศาสนาที่มีความนับถือมากในประเทศไทย โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา ศาสนาอิสลาม คริสตศาสนา ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาขงจื้อ เพื่อให้เข้าใจในศาสนาต่าง ๆ ในแง่ปรัชญาและอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
1523201 จริยศึกษาสำหรับครูประถมศึกษา
Moral Education for Elementary Teacher
2(1-2)
                        ศึกษาความหมายและขอบข่ายของจริยศึกษา จริยธรรมและหลักธรรมของการอยู่ร่วมกัน มารยาทสังคมและการฝึกฝน พิธีกรรมในศาสนาที่คนไทยนับถือ วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องของศาสนานั้นๆ ปัญหาและสาเหตุของความเสื่อมโทรมด้านจริยธรรม และวิธีการแก้ไขกิจกรรมและการฝึกจริยธรรม สำหรับครูประถม
1523202 การศึกษาวิเคราะห์พุทธสาวก สาวิกาและชาวพุทธตัวอย่าง
An Analytical Study of the Buddha’s Disciples and Exemplary Buddhists
2(2-0)
                        ศึกษาวิเคราะห์สาวกและสาวกที่สำคัญ เช่น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะพระมหากัสสปะ พระอานนท์ พระอุบาลี พระโกณฑัญญะ พระราหุล พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี พระเขมาเถรี พระอุบลวรรณเถรี พระปฎาจาราเถรี พระเจ้าพิมพิสาร อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขามหาอุบาสิกา พระนางสามาวดี วิสาขอุบาสก นางขุชชุตตรา และศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับชาวพุทธตัวอย่าง เช่น พระเจ้าอโศกมหาราช  พระพุทธโฆษาจารย์ อนาคาริกธรรมปาละ ตลอดจนชาวพุทธตัวอย่างร่วมสมัยที่ควรศึกษาทั้งชาวไทย  และชาวต่างชาติ พร้อมทั้งทราบแหล่งที่จะศึกษาค้นคว้าประวัติของท่านเหล่านี้ได้อย่างกว้างขวางด้วยตนเอง
1523203 การศึกษาวิเคราะห์วิธีสอนของพระพุทธเจ้า
An Analytical Study of the Buddha’s Teaching Methods
2(2-0)
                     ศึกษาในเชิงวิเคราะห์ถึงวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าในประเด็นต่าง ๆ คือ ปรัชญาพื้นฐานคุณสมบัติผู้สอนในด้านบุคลิกภาพและคุณธรรม หลักทั่วไปในการสอนในแง่เกี่ยวกับเนื้อหาที่สอน ผู้เรียนและตัวอย่างการสอน ลีลาการสอน วิธีการสอนแบบต่าง ๆ
1523204 ความสำคัญและความจำเป็นของการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนา
The Importance and Need of Buddhist Studies
2(2-0)
                        ศึกษาเหตุผลที่แสดงถึงความสำคัญและความจำเป็นที่คนไทยเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ปัญหาด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากการพัฒนาแบบตะวันตก ทั้งในประเทศไทยและในระดับโลก พระพุทธศาสนาใน ฐานะเป็นสถาบันหลัก เป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นสภาพแวดล้อมทั่วไปของสังคมไทย เป็นแหล่งคำสอนของระบบจริยธรรมไทย เป็นหลักสำหรับพัฒนาชีวิตและสังคม เป็นวิชาการที่เสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าทางปัญญาให้แก่สังคมมนุษย์ และเป็นแหล่งหนึ่งแห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ ปัจจุบันการจัดการสอนพระพุทธศาสนาให้มีบูรณาการครบทั้ง 4 ด้าน การบูรณาการเข้าในทุกวิชา การบูรณาการองค์จริยธรรมเข้าในระบบจริยธรรม การบูรณาการคนเข้าในชุมชน และการบูรณาการสถาบันการศึกษาเข้าในระบบจริยศึกษาของชุมชน พุทธจริยธรรมเป็นจริยธรรมสากลที่แท้จริง เพราะตั้งอยู่บนสัจธรรม พร้อมทั้งให้ผู้ศึกษาทำกิจกรรมเพื่อทดลองนำระบบพุทธจริยธรรมมาใช้ปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาส่วนตน ชุมชน และประเทศชาติ
1523205 วิปัสสนาภาวนา
Insight Meditation
2(1-2)
                        ศึกษาบุพพกิจ การเจริญวิปัสสนาภาวนา และผลของวิปัสสนาภาวนาสติปัฏฐาน 4 วิปัสสนาภูมิ 6  วิปัสสนูปกิเลส 10 สังโยชน์ 10 วิสุทธิ 7 วิปัสสนาญาณ 9 วิปัสสนาญาณ 10 ญาณ 16 ประเภทต่าง ๆ ของพระพุทธอริยบุคคล ตลอดจนการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้ศึกษามีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับวิปัสสนาภาวนาอย่างถูกต้องเหมาะสม ประโยชน์ของวิปัสสนาภาวนาในการนำมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวัน และการบริหารกิจกรรม
ต่าง ๆ
1523206 พุทธศิลป์
Buddhist Arts
       
2(2-0)
                        ศึกษาศิลปะทางพระพุทธศาสนาทุกประเภท ได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ภาพพิมพ์ โสตศิลป์ โสตทัศนศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ ทั้งของไทย และของต่างประเทศที่สำคัญ ให้ทราบถึงประวัติความเป็นมา และสามารถแยกแหล่งที่มา และยุคสมัยได้ พร้อมทั้งทราบถึงความหมายทางธรรมะของพุทธศิลป์นั้น ๆ ประโยชน์และบทบาทของพุทธศิลป์ต่าง ๆ
1523207 ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
Important Buddhist Sacred Places and Objects
2(2-0)
                        ศึกษาปูชนียสถานและปูชนียวัตถุที่สำคัญของอินเดีย ไทย และประเทศอื่นๆ เช่น สังเวชนีย สถาน 4 แห่งในอินเดีย ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติและพระสาวกที่สำคัญ วัดเจดีย์ พระพุทธรูปที่สำคัญของไทยกับของต่างประเทศ ให้ทราบถึงความเป็นมา บทบาทในประวัติศาสตร์ของปูชนียสถานและปูชนียวัตถุนั้น ๆ
 
1523208 การสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา
The Creating and Developing of Educational Medias of Buddhist Studies
2(2-0)
                        ศึกษาการใช้ การสร้างและการพัฒนา สื่อการเรียนการสอนประเภทต่าง ๆ สำหรับวิชาพระพุทธศาสนา เพื่อให้การเรียนการสอนเข้าใจง่าย เป็นรูปธรรม น่าสนใจ ชวนติดตาม มีประสทิธิภาพและประสิทธิผล ตัวอย่างสื่อ เช่น แผ่นใส สไลด์ แผนภูมิ แผ่นป้ายนิเทศ หุ่นมือ หุ่นกระดาษ เพลงส่งเสริมคุณธรรม กิจกรรมประกอบจังหวะ เกมส์ธรรมะประเภทต่าง ๆ นิทานธรรมะ ละครธรรมะ และวีดิทัศน์  เป็นต้น
1523209 การสังคมสงเคราะห์และการแก้ปัญหาสังคมตามหลักพระพุทธศาสนา
Social Welfare and Solving of Social Problems in Buddhism
2(2-0)
                        ศึกษาการสังคมสงเคราะห์ตามหลักพุทธศาสนา การสังคมสงเคราะห์ทางจิต และทางกาย การประยุกต์นำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาใช้ในการป้องกัน และการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของสังคม เช่น ปัญหาความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม ปัญหาอบายมุข ปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาเด็กและ  เยาวชน ปัญหาโสเภณี ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาทางเพศ ปัญหาครอบครัว ปัญหาคนชรา และปัญหาคนพิการ เป็นต้น โดยให้ผู้ศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริงในภาคสนามด้วย
1523210  พระพุทธศาสนากับจรรยาทางธุรกิจ
Buddhism and Business Ethics
2(2-0)
                        ศึกษาหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับสัมมนาอาชีวะ สุขของคฤหัสถ์ 4 หลักการหาทรัพย์  และใช้ทรัพย์อย่างชอบธรรม ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 การจัดสรรทรัพย์ตามหลักโภควิภาค 4 หลัก  การใช้ทรัพย์ตามหลักโภคอาทิยะ 4 การค้าขายที่ผิดศีลธรรมตามหลักมิจฉาวณิชชา 5 จรรยาต่าง ๆ ทางธุรกิจ ตามหลักของพระพุทธศาสนาและการนำไปใช้แก้ปัญหาทางธุรกิจ
1523211  พุทธศาสนสุภาษิต
Buddhist Proverbs
2(2-0)
                      ศึกษาพุทธศาสนาสุภาษิต ทั้งภาคภาษาบาลี-ไทย-อังกฤษในหมวดหมู่ต่าง ๆ ได้แก่ หมวดคน ฝึกตน รับผิดชอบตน จิตใจ การศึกษา ปัญญา เลี้ยงชีพ-สร้างตัวเพียรพยายามทำหน้าที่ ครอบครัว-ญาติ มิตร การคบหา การเบียดเบียน-การช่วยเหลือกัน สามัคคี การปกครอง บุญ-บาป ธรรม-อธรรม ความดี- ชั่ว กรรม กิเลส คุณธรรม วาจา ชีวิต-ความตาย พ้นทุกข์-พบสุข โดยศึกษาหมวดละ 4-5 ภาษิต เป็นตัวอย่างให้รู้ทั้งคำแปล ความหมาย แหล่งที่มาในพระไตรปิฎก พร้อมทั้งบริบทต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงภาษิตนั้น ๆ และให้ผู้ศึกษาเกิดฉันทะและทราบวิธีที่จะศึกษาค้นคว้าพุทธศาสนาภาษิตให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น
1523212 พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
Buddhism and Science
2(2-0)
                      ศึกษาจุดร่วมและข้อแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ ขอบเขต และเป้าหมายที่ไม่เหมือนกันของแกนแห่งความรู้ แนวทางที่ตรงกันแต่เน้นต่างกันในวิธีเข้าถึงความรู้ จุดเน้นและการใช้วิธีเข้าถึงความจริงที่ต่างกัน ขีดจำกัดของวิทยาศาสตร์ พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ การยอมรับคุณค่าและประสบการณ์ทางอินทรีย์ที่ 6 ผลกระทบของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อพระพุทธศาสนาและแนวทางแก้ไขปรับปรุง
1523213  พระพุทธศาสนากับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
Buddhism and Environmental Conservation
2(2-0)
                       ศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติชีวิตของพระสงฆ์เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอย่างมาก หลักการและข้อปฏิบัติของพระ รัฐบาลและชาวบ้านต่อป่าอย่างถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา โลกทัศน์ของพระพุทธศาสนาที่ถือว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ หลักการแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา แก่สรรพสิ่งมีชีวิตอย่างเสมอภาค และไม่มีขอบเขตจำกัดเป็นพื้นฐานที่มบูรณ์ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กฎแห่งกรรมและทางสายกลางช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ และให้ผู้ศึกษาทดลองปฏิบัติภาคสนาม
1523214  พระพุทธศาสนากับโลกาภิวัตน์
Buddhism and Globalization
2(2-0)
                      ศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับอธิปไตย 3 โลกาภิวัตน์เป็นโลกาธิปไตยธรรมานุวัตรเป็นธรรมธิปไตย หลักพุทธธรรมเกี่ยวกับการรู้เท่าทันโลกและการไม่หลงโลก หลักการรู้จักวิเคราะห์แยกแยะข่าวสารข้อมูลการรู้เท่าทันข่าวสารข้อมูล และการปฏิบัติต่อข่าวสารข้อมูลอย่างถูกต้องและเหมาะสม หน้าที่ของชาวพุทธในการป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่องและผลเสียของกระแสโลกาภิวัตน์
1523215  พระพุทธศาสนากับการพัฒนาแบบยั่งยืน
Buddhism and Sustainable Development
2(2-0)
                       ศึกษาทิฏฐิพื้นฐาน 3 ประการที่ผิดพลาดของการพัฒนาแบบตะวันตก และแนวทางแก้ไขด้วย ลักธรรมทางพระพุทธศาสนา การพัฒนาวัตถุต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาจิตใจอย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เป็นแม่บท สำหรับการพัฒนาแบบยั่งยืนที่แท้จริงในด้านจิตใจ
วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การเมือง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ และให้ผู้ศึกษาทดลองปฏิบัติงานโครงการ ตัวอย่างพัฒนาแบบยั่งยืน
1523216  พระพุทธศาสนากับสันติภาพ
Buddhism and Peace
2(2-0)
                      ศึกษาปัญหาความขัดแย้ง และความรุนแรงด้วยการวิเคราะห์ตามหลักพระพุทธศาสนา สภาพของ มนุษย์ที่ยังไม่ได้รับความพัฒนาจิตใจ เป็นต้นเหตุของความรุนแรง การเข้าใจผิดเกี่ยวกับคว ามสุขเป็น ต้นเหตุของความขัดแย้ง อิสรภาพ 4 ระดับ อิสรภาพทางกาย อิสรภาพทางสังคม อิสรภาพทางจิต และอิสรภาพทางปัญญา เป็นเครื่องประกันของสันติภาพและความสุข การประเมินฐานะและบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง จะช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง สันติภาพจะบรรลุได้ด้วยการพัฒนามนุษย์ ตามหลักไตรสิกขา สถาบันสงฆ์เป็นสังคมในอุดมคติที่มีสันติภาพอย่างแท้จริง และเป็นแบบอย่างก่สังคมทั่วไป และให้ผู้ศึกษาทดลองแก้ปัญหาสถานการณ์ความขัดแย้งต่าง ๆ ด้วยวิธีการทางพระพุทธศาสนา
1523217  พุทธประวัติภาคภาษาอังกฤษ
The Life of the Buddha in English
2(2-0)
                       ศึกษาพุทธประวัติเป็นภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ประสูติ มหาภิเนษกรมณ์ การตรัสรู้ การสอนธรรมะและปรินิพพาน ให้ผู้ศึกษาฝึกการเขียนและพูดพุทธประวัติเป็นภาษาอังกฤษ
 
                    Study the biography of the Buddha from firth, renuniation, enlightenment,preaching, to  death. Including practice in written and spoken English of the life of the Buddha.
1523218  พระพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษ 2
Buddhism in English 2
2(2-0)
                      ศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับคำสอนหลักของพระพุทธเข้า เช่น อริยสัจจ์ 4 ไตรลักษณ์ และปฏิจจสมุปทาน ให้ผู้ศึกษาฝึกการเขียนและพูดธรรมะดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษ
                    Study the principal teachings of the Buddha such as the Four Noble truths, the Three  Characteristics, and the Dependent Origination. Including practice in written and spoken English of  those Dhammas
1523301 ฮินดูธรรมและพิธีกรรม
Hinduism and Rite
3(3-0)
                      ศึกษาวิวัฒนาการความคิดตั้งแต่ยุคพราหมณ์ ยุคพระเวท และยุคอุปนิษัท ตลอดจนหลักธรรม ความเชื่อ และพิธีกรรมรูปแบบต่าง ๆ
1523417 วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาของไทย
Thai Buddhist Literature
2(2-0)
                       ศึกษาวรรณกรรมที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน โดยศึกษา สาระสังเขปของวรรณกรรมที่สำคัญ และวิเคราะห์วรรณกรรมนั้น ๆ ในแง่คุณค่า และอิทธิพลที่มีต่อสังคมไทยและพระพุทธศาสนา วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในแต่ละยุค พร้อมทั้งวิวัฒนาการของวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาของไทย วรรณกรรมที่สำคัญ เช่น ไตรภูมิพระร่วง  มังคลัตถทีปนี ปัญญาสชาดกมหาชาติคำหลวง ปฐมสมโพธิกาถา มหาเวสสันดรชาดก พระมาลัยคำหลวง  พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน พระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล งานเขียนของพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต) พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตาญาโณ) พระเทพ วิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณโณ) พระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร) พระเมธี ธรรมมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต) หลวงวิจิตรวาทการ พันเอกปิ่น มุทุกันต์ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ อาจารย์เสถียร   โพธินันทะ อาจารย์วศิน อินทรสระ อาจารย์แสง จันทร์งาม และอาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก เป็นต้น
1523501  คริสตธรรมและพิธีกรรม
Christianity and Rite
3(3-0)
                       ศึกษาประวัติ องค์ประกอบ และการแบ่งเป็นนิกายต่าง ๆ ของศาสนาคริสต์คัมภีร์ไบเบิล และคำสอนของนิกายสำคัญในศาสนาคริสต์ ความรู้เรื่องศรัทธา ความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีกรรม และแนวทางการ ดำเนินชีวิตของคริสตศาสนิกชน ศาสนาคริสต์ในประเทศไทย
1524201 ธรรมวิจารณ์
Dhamma Criticism
2(2-0)
                      ศึกษาและนำหลักคำสอนสำคัญและหลักธรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมาวิเคราะห์และวิจารณ์ตามแนวเหตุผลให้เข้าใจความหมาย ความมุ่งหมาย และคุณค่าโดยสัมพันธ์กับหลักธรรมอื่นๆ และการนำไปปฏิบัติ พร้อมทั้งผลดีผลเสียของการปฏิบัติที่ถูกหรือผิด ซึ่งมีผลต่อชีวิตและสังคม
1524202  การฝึกสมาธิสำหรับผู้สูงอายุ
Meditation Training for the Elderly
2(1-2)
                      ศึกษาความหมาย ประเภท และหลักการของการฝึกสมาธิ สมาธิในพุทธศาสนาและศาสนาอื่น  การปรับสภาวะร่างกายและจิตใจในการฝึกสมาธิ วิธีการฝึกสมาธิแบบต่าง ๆ การฝึกสมาธิและการทดสอบสมาธิกับชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ประโยชน์(อานุภาพ) ของสมาธิกับผู้สูงอายุ
1524203  การฝึกสมาธิ
Meditation Practice
2(2-0)
                      ศึกษาความหมาย หลักการ ลำดับขั้นของการฝึกสมาธิ กลวิธีฝึกสมาธิแบบต่าง ๆ ประเภทประโยชน์ของการฝึกสมาธิ ฝึกปฏิบัติ การฝึกสมาธิโดยเน้นการนำประโยชน์ของสมาธิมาใช้ในชีวิตประจำวัน
1524204  ศึกษาเปรียบเทียบเถรวาทกับอาจริยวาท
Comparative Study on Theravada and Acariyavada
2(2-0)
                       ศึกษาประวัติความเป็นมาของเถรวาทและอาจริยวาท (มหายาน) โดยสังเขปข้อแตกต่างและเหมือนกันระหว่างนิกายทั้งสอง เปรียบเทียบคำสอนพื้นฐานการตีความพุทธธรรม วรรณกรรม และการปฏิบัติธรรม
1524205  การให้คำปรึกษาและการแนะแนวตามหลักพระพุทธศาสนา
Buddhist Counselling and Guidance
2(2-0)
                      ศึกษาแนวคิดพื้นฐานของพระพุทธศาสนา ในการพัฒนามนุษย์ ซึ่งมีไตรสิกขาเป็นหลักการสำคัญของการพัฒนา ข้อควรสังเกตเกี่ยวกับการพัฒนาในระดับพฤติกรรม ความสำคัญของรุ่งอรุณของการศึกษา หรือแสงเงินแสงทองของชีวิต 7 กัลยาณมิตรธรรม 7 ธรรมเทศกธรรม 5 ลีลาครู 4 หลักตรวจอบประสิทธิผลของครู 3 หน้าที่ครูต่อศิษย์ 5 และให้ผู้ศึกษานำหลักธรรมเหล่านี้มาใช้ในการให้คำปรึกษาและการแนะแนวในภาคปฏิบัติ
1524206 พระพุทธศาสนากับสิ่งเหนือธรรมชาติ
Buddhism and Supernatural
2(2-0)
                      ศึกษาฐานะของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทวฤทธิ์ปาฏิหาริย์ และวัตถุมงคลในพระพุทธศาสนา หลักการเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้อย่างถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา ความเชื่อเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง พระอริยะกับผู้วิเศษตามหลักพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนากับปริจิตวิทยา และการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติต่าง ๆ
1524207  สารนิพนธ์ทางพระพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษ 2
Selected Texts on Buddhism 2
2(2-0)
                      ศึกษาตำราเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในภาคภาษาอังกฤษ ที่เขียนโดยนักวิชาการผู้มีชื่อเสียงของโลก ในเรื่องพุทธปรัชญา พุทธรัฐศาสตร์ และพุทธศึกษาศาสตร์ ให้ผู้ศึกษาฝึกการเขียนและพูดธรรมะดังกล่าวในภาษาอังกฤษ
                    Study Buddhist work concerning Buddhist philosophy, politics, and education written in  English by famous writers of the world. Including practice in written and spoken English of those  Dhammas.
1524401  อิสลามธรรมและพิธีกรรม
Islamism and Rite
3(3-0)
                       ศึกษาประวัติ องค์ประกอบและการแบ่งเป็นนิกายต่าง ๆ ของศาสนาอิสลามคัมภีร์อัล-กุรอาน  และคำสอนของนิกายสำคัญในศาสนาอิสลาม ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับศรัทธา พิธีกรรม วัฒนธรรม และแนวทางการดำเนินชีวิตของชาวมุสลิม ศาสนาอิสลามในประเทศไทย
1524901  สัมมนาพระพุทธศาสนา
Seminar in Buddhism
2(1-2)
                      การทำความเข้าใจและอธิบายหลักพุทธธรรมในทัศนะ และบริบทต่าง ๆ การเลือกกรณีตัวอย่าง หรือปัญหาของสังคมมาวิเคราะห์ เพื่อหาทางอธิบาย หรือแก้ปัญหาตามแนวทางของพระพุทธศาสนา
1524902 การศึกษาเอกเทศด้านพระพุทธศาสนา
Independent Study in Buddhism
2(2-0)
                       ศึกษา ปฏิบัติ หรือทดลอง เฉพาะกรณีในเรื่องที่สนใจเพื่อทำโครงการในขอบข่ายของพระพุทธศาสนา ภายใต้การนิเทศของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
1524903 การทำภาคนิพนธ์ทางพระพุทธศาสนา
Writing a Term Paper in Buddhism
2(2-0)
                    ศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อทำภาคนิพนธ์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาภายใต้การนิเทศของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

ก่อนหน้า ต่อไป