รหัสและคำอธิบาย  >> หมวดวิชาศิลปกรรมศาสตร์

ต่อไป

: : หมู่วิชาที่ไม่สามารถจัดเข้าหมู่วิชาใดได้ ของหมวดวิชาศิลปกรรมศาสตร์: :

หมู่วิชาที่ไม่สามารถจัดเข้าหมู่วิชาใด ๆ ในหมวดวิชาศิลปกรรมศาสตร์ ได้จัดลักษณะเนื้อหาวิชาออกเป็นดังนี้
                    1. หลักการและทฤษฎีทั่วไป (200-1--)
                    2. (200-2--)
                    3. (200-3--)
                    4. (200-4--)
                    5. (200-5--)
                    6. (200-6--)
                    7. (200-7--)
                    8. การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (200-8--)
                    9. โครงการพิเศษ ปัญหาพิเศษ วิทยานิพนธ์
                        โครงการศึกษาเอกเทศ การสัมมนา และการวิจัย (200-9--)

หมู่วิชาที่ไม่สามารถจัดเข้าหมู่วิชาใดได้ ของหมวดวิชาศิลปกรรมศาสตร์ (200)

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

น(ท-ป)

รหัสใหม่

รหัสเก่า

2000102

-

สุนทรียภาพของชีวิต

3(3-0)

2001101

-

ทฤษฎีการรับรู้ทางทัศนศิลป์

2(1-2)

2001102

-

สุนทรียภาพศึกษา 1

2(1-2)

2001103

-

ทฤษฎีสี 1

2(1-2)

2001104

-

ศิลปะไทย 1

3(2-2)

2001105

-

ทฤษฎีศิลปะ

2(1-2)

2001106

-

วัสดุศิลป์ 1

2(1-2)

2001108

-

ศิลปะสำหรับครูประถมศึกษา

2(1-2)

2001109

-

วัสดุศิลป์ 2

2(1-2)

2001110

-

เทคนิคศิลป์ 1

2(1-2)

2001111

-

เทคนิคศิลป์ 2

2(1-2)

2001112

-

สุนทรียทางทัศนศิลป์

2(2-0)

2002101

-

ทฤษฎีสี 2

3(2-2)

2002102

-

การออกแบบสื่อสาร

2(1-2)

2002301

-

การพิมพ์ระบบซิลค์สกรีน

2(1-2)

2002801

-

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบนิเทศศิลป์ 1

2(90)

2002802

-

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบนิเทศศิลป์ 1

3(260)

2002803

-

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบประยุกต์ศิลป์ 1

2(90)

2002804

-

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบประยุกต์ศิลป์ 1

3(260)

2002805

-

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบพาณิชยศิลป์ 1

2(90)

2002806

-

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบพาณิชยศิลป์ 1

3(260)

2002807

-

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพศิลปะการพิมพ์ 1

2(90)

2002808

-

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพศิลปะการพิมพ์ 1

3(260)

2002809

-

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาพพิมพ์ 1

2(90)

2002810

-

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาพพิมพ์ 1

3(260)

2002901

-

การพิมพ์เฉพาะบุคคล

2(1-3)

2002902

-

โครงการศึกษาศิลปะส่วนบุคคล

4(2-4)

2002903

-

การนำเสนอผลงาน

3(2-2)

2003101

-

ศิลปะไทย 2

2(1-2)

2003102

-

การจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กประถมศึกษา

2(1-2)

2003103

-

ค่ายศิลปะ

3(2-2)

2003801

-

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาพพิมพ์ 3

2(90)

2003802

-

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพศิลปกรรม 3

2(90)

2003901

-

เทคนิคการนำเสนอรูปแบบการออกแบบ

3(2-2)

2004101

-

ศิลปะไทย 3

2(1-2)

2004102

-

สุนทรียภาพศึกษา 2

2(1-2)

2004103

-

พิพิธภัณฑ์ศิลป์

2(1-2)

2004801

-

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาพพิมพ์ 3

5(350)

2004802

-

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพศิลปกรรม 3

5(350)

2004902

-

ปัญหาศิลปะร่วมสมัย

2(1-2)

2004903

-

การนำเสนอผลงานออกแบบนิเทศศิลป์

2(1-2)

2004904

-

ศิลปะนิพนธ์

3(2-2)

2004905

-

สัมมนาการออกแบบประยุกต์ศิลป์

3(2-2)

2004906

-

โครงการพิเศษศิลปะการพิมพ์

4(2-4)

2004907

-

โครงการพิเศษออกแบบนิเทศศิลป์

4(2-4)

2004908

-

การนำเสนอผลงานชั้นสูง

3(2-2)

2004909

-

การนำเสนอผลงานออกแบบประยุกต์ศิลป์

2(1-2)

2004910

-

โครงการพิเศษออกแบบประยุกต์ศิลป์

4(2-4)

คำอธิบายรายวิชา

หมู่วิชาที่ไม่สามารถจัดเข้าหมู่วิชาใดได้ของหมวดวิชา
ศิลปกรรมศาสตร์(200)

รหัส

ชื่อและคำอธิบายรายวิชา

น(ท-ป)

2000102

สุนทรียภาพของชีวิต
Aesthetic Appreciation

3(3-0)

             ศึกษาและจำแนกข้อต่างในศาสตร์ทางความงาม ความหมายของ สุนทรียศาสตร์เชิงการคิดกับสุนทรียศาสตร์เชิงพฤติกรรมโดยสังเขป ความสำคัญของการรับรู้กับความเป็นมาของศาสตร์ทางการเห็น (The Art of Imagery) ศาสตร์ทางการได้ยิน (The Art of Sound) และศาสตร์ทางการเคลื่อนไหว (The Art of Movement) สู่ทัศนศิลป์ (Visual Arts) ศิลปะดนตรี (Musical Arts) และศิลปะการแสดง (Performing Arts) ผ่านขั้นตอนการเรียนรู้เชิงคุณค่าจาก (1) ระดับการรำลึก (Recognitive) (2) ผ่านขั้นตอนความคุ้นเคย (Acquantive) และ (3) นำเข้าสู่ขั้นความซาบซึ้ง (Appreciative) เพื่อให้ได้มาซึ่งประสบการณ์ของความซาบซึ้งทางสุนทรียภาพ (Aesthetic Appreciation)

2001101

ทฤษฎีการรับรู้ทางทัศนศิลป์
Perception Theory of Visual Arts

2(1-2)

 

             ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับทฤษฎีการรับรู้ในการมองเห็นและค้นคว้า เกี่ยวกับประสบการณ์ทั่วไปของสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะกระทบต่อการรับรู้ และการมองเห็นของมนุษย์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความคิดทางรูปแบบที่มีการ เปลี่ยนแปลงในงานทัศนศิลป์

2001102

สุนทรียภาพศึกษา 1
Aesthetic Education I

2(1-2)

               ศึกษาสมมติฐาน คำนิยม และความหมายของสุนทรียภาพ ทฤษฎีการรับรู้ในการมองเห็นของมนุษย์ ปรากฎการณ์ทั่วไปของสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ การพัฒนาศักยภาพของการรับรู้ ค่าสุนทรียภาพที่ปรากฏจากสุนทรียวัตถุ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความคิดทางรูปแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงในงานทัศนศิลป์

2001103

ทฤษฎีสี 1
Theory of Colour 1

2(1-2)

 

             ศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับความเป็นมาของทฤษฎีสีในงานศิลปกรรม และงานช่าง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เปรียบเทียบข้อแตกต่างของทฤษฎีแต่ละวิธีและประโยชน์ในการนำมาใช้

2001104

ศิลปะไทย 1
Thai Arts 1

3(2-2)

 

             ศึกษาความหมายของศิลปะไทย ที่มาของลายไทยและภาพไทย สามารถประยุกต์และสร้างสรรค์ เพื่อนำมาใช้ในแนวทางอนุรักษ์ อีกทั้งสามารถจำแนกแบบและชนิดของภาพไทยและลายไทยได้ ฝึกฝนและปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบลายไทยและภาพไทย

2001105

ทฤษฎีศิลปะ
Art Theory

2(1-2)

             ศึกษาให้เข้าใจส่วนประกอบมูลฐาน การใช้สี และการจัดองค์ประกอบอันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์งานทางทัศนศิลป์ทั้งสองและสามมิติ  
 

2001106

วัสดุศิลป์ 1
Art Media 1

2(1-2)

             ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดและคุณสมบัติเฉพาะของวัสดุที่นำมาใช้งานศิลปะและนิเทศศิลป์ โดยเน้นการค้นคว้าทดลอง เทคนิคและวัสดุใหม่ ๆ เพื่อการเลือกนำมาใช้สร้างสรรค์งานศิลปะ และนิเทศศิลป์อย่างมีคุณค่า
 

2001108

ศิลปะสำหรับครูประถมศึกษา
Arts for Elementary School Teachers

2(1-2)

 

             ความสำคัญของศิลปศึกษา พัฒนาการทางศิลปะของเด็กไทยวัยประถมศึกษา หลักการเขียนภาพและระบายสี การพิมพ์ภาพ ภาพปะติด การปั้นและแกะสลัก งานสาน ถัก และทอ งานสร้างสรรค์และงานประดิษฐ์ หลักการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ การวิจารณ์ผลงานศิลปศึกษาของเด็ก
 

2001109

วัสดุศิลป์ 2
Art Media 2

2(1-2)

             ศึกษาวัสดุสังเคราะห์ เพื่อนำมาใช้ในงานทัศนศิลป์ การแก้ปัญหาและวิเคราะห์ความงามที่เกิดขึ้น โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์
 

2001110

เทคนิคศิลป์ 1
Art Techniques 1

2(1-2)

             ศึกษาการแก้ปัญหาในรูปแบบที่ต้องการแสดงออก ความชัดเจนของเส้น รูปทรง พื้นผิว แสงเงา จากสื่อประเภทต่าง ๆ หลายรูปแบบ
 

2001111

เทคนิคศิลป์ 2
Art Techniques 2

2(1-2)

 

             ศึกษาใช้การแสดงออกอย่างปรากฎเรื่องราว และรูปแบบพิเศษในงานทัศนศิลป์ให้สัมพันธ์กับความหลากหลายของสื่อที่นำมาใช้ปฏิบัติจริง
 

2001112

สุนทรียทางทัศนศิลป์
Aesthetics of Visual Arts

2(2-0)

 

             ความหมายของสุนทรียภาพ มนุษย์และประสบการณ์ทางความงาม การพัฒนาประสาทสัมผัสและเลือกสรรค่าของความงามจากทัศนศิลป์ อันสนองความต้องการและความรู้สึกทางอารมณ์และจิต เพื่อนำมาปลูกฝังและพัฒนาตนเองให้เจริญงอกงามไปสู่คุณค่า และความหมายของความเป็นมนุษย์

     

2002101

ทฤษฎีสี 2
Theory of Colour 2

3(2-2)

 

             ศึกษาทฤษฎีสีที่นำมาใช้ในงานทัศนศิลป์ โดยการปฏิบัติ วิเคราะห์ และทดสอบทางจิตวิทยา

     

2002102

การออกแบบสื่อสาร
Communication Design

2(1-2)

 

             ศึกษาแนวคิดในการออกแบบเพื่อการสื่อความหมายโดยใช้ภาพและสัญลักษณ์ต่างๆ ประกอบเข้าด้วยกัน ทั้งรูปแบบงาน 2 มิติ และงาน 3 มิติ

     

2002301

การพิมพ์ระบบซิลค์สกรีน
Silk Screen Printing

2(1-2)

 

             ความสำคัญของการพิมพ์ซิลค์สกรีนต่อการผลิตสื่อ หลักการและการพิมพ์ด้วยระบบซิลค์สกรีน เทคนิควัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนการพิมพ์ซิลค์สกรีน ฝึกปฏิบัติการผลิตสื่อด้วยการพิมพ์ระบบซิลค์สกรีน

2002801

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบนิเทศศิลป์ 1
Preparation for Professional Experience in Visual

2(90)

 

             จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพในด้านการรับรู้ลักษณะและโอกาสของการประกอบอาชีพ การพัฒนาตัวผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพออกแบบนิเทศศิลป์ โดยการกระทำในสถานการณ์หรือรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานในวิชาชีพนั้น ๆ

2002802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบนิเทศศิลป์ 1
Filed Experience in Visual Communication Design 1

3(260)

 

             นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานตามแขนงและสาขาที่นักศึกษามีความถนัดและสนใจเป็นพิเศษ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์วิชาชีพให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถนำผลจากการฝึกปฏิบัติงานไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

2002803

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบประยุกต์ศิลป์ 1
Preparation for Professional Experience in Creative Design & Products 1

2(90)

 

             จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนออกฝึก ประสบการณ์วิชาชีพในด้านการรับรู้ลักษณะและโอกาสของการประกอบอาชีพ การพัฒนาตัวผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพออกแบบประยุกต์ศิลป์ โดยการกระทำในสถานการณ์หรือรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานในวิชาชีพนั้น ๆ

2002804

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบประยุกต์ศิลป์ 1
Field Experience in Creative Design & Products 1

3(260)

 

             การฝึกปฏิบัติงานเกี่ยวกับศิลปะประยุกต์ภายนอกและภายในสถานศึกษา เช่น ปฏิบัติงานในโรงงานเอกชน และหน่วยงานราชการ หรือจัดฝึกเอง

2002805

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบพาณิชยศิลป์ 1
Preparation for Professional Experience in Commercial Art 1

2(90)

 

             จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนออกฝึก ประสบการณ์วิชาชีพในด้านการรับรู้ลักษณะและโอกาสของการประกอบอาชีพ การพัฒนาตัวผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพออกแบบพาณิชยศิลป์

2002806

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบพาณิชยศิลป์ 1
Field Experience in Commercial Art 1

3(260)

 

             นักศึกษาทุกคนจะต้องหาประสบการณ์จากสถานประกอบการหรือรัฐวิสาหกิจก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสถานศึกษา ครั้งละ 260 ชั่วโมงเป็น อย่างน้อยก่อนฝึกงานจะต้องมีการปฐมนิเทศให้กับนักศึกษาก่อน การประเมินผล การปฏิบัติ จำนวนบุคลากรของสถานประกอบการนั้น ๆ จะประเมินผลของ นักศึกษาร่วมกับอาจารย์นิเทศก์และเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ภายหลังจากเสร็จจากการฝึกงานต้องมีการสัมมนาปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน การปัจฉิมนิเทศควรจัดให้มีขึ้นภายหลังการฝึกงานช่วงหลังแล้ว

2002807

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพศิลปะการพิมพ์ 1
Preparation for Professional Experience in Applied Graphics 1

2(90)

 

             จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพในด้านการรับรู้ลักษณะและโอกาสของการประกอบอาชีพ การพัฒนาตัวผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพออกแบบประยุกต์ศิลป์ โดยการกระทำในสถานการณ์หรือรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานในวิชาชีพนั้น ๆ

2002808

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพศิลปะการพิมพ์ 1
Field Experience in Applied Graphics 1

3(260)

             การฝึกในสถานประกอบการทางด้านวิชาชีพศิลปะ เช่น แหล่งปฏิบัติงานของศิลปิน โรงพิมพ์ของเอกชนและหน่วยราชการต่าง ๆ

2002809

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาพพิมพ์ 1
Preparation for Professional Experience in Print Making 1

2(90)

 

             จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนออกฝึก ประสบการณ์วิชาชีพในด้านการรับรู้ลักษณะและโอกาสของการประกอบอาชีพ การพัฒนาตัวผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพออกแบบประยุกต์ศิลป์ โดยการกระทำในสถานการณ์หรือรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานในวิชาชีพนั้น ๆ

2002810

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาพพิมพ์ 1
Field Experience in Print Making 1

3(260)

             การฝึกในสถานประกอบการทางด้านวิชาชีพภาพพิมพ์ เช่น แหล่งปฏิบัติงานในหน่วยงานเอกชน หน่วยงานราชการหรือจัดฝึกเอง

2002901

การพิมพ์เฉพาะบุคคล
Individual Printing Project

2(1-3)

             เสนอโครงการพิมพ์เฉพาะบุคคล การฝึกปฏิบัติหาความชำนาญ การพิมพ์ชนิดใดชนิดหนึ่งให้สมบูรณ์ตามโครงการ

2002902

โครงการศึกษาศิลปะส่วนบุคคล
Individual Art Project

4(2-4)

 

             ผู้เรียนเสนอโครงการที่ตนสนใจต่อคณะกรรมการ เพื่อศึกษาและ ค้นคว้าในวิชาที่ต้องการศึกษาเป็นกรณีพิเศษ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่ออาชีพของตน

2002903

การนำเสนอผลงาน
Art Presentation

3(2-2)

 

             เมื่อนักศึกษาได้เลื่อนขั้นศึกษาในเทอมสุดท้ายของการเรียน จะได้มีการวิเคราะห์สัมมนาและประเมินผลสะสมของแต่ละบุคคล หลังจากนั้นจึงทำการแก้ไขปรับปรุง หรือทำงานเพิ่มเติมจนกว่าผลงานจะอยู่ในระดับ

2003101

ศิลปะไทย 2
Thai Art 2

2(1-2)

             ศึกษาและฝึกปฏิบัติศิลปะการช่างไทย โดยประยุกต์ลายไทยและภาษาไทยใช้ให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น

2003102

การจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กประถมศึกษา
Art Program for Elementary Children

2(1-2)

 

             ศึกษาธรรมชาติและพัฒนาการทางด้านศิลปะ ตลอดจนแนวคิดในการสร้างงานของเด็กประถมศึกษา การจัดกิจกรรมทางศิลปะในโรงเรียนประถมศึกษา ศึกษาการตีความ การพูด การเขียน เพื่อพิจารณ์งานศิลปะของเด็กประถมศึกษา การวัดและประเมินผลงานศิลปะ ตลอดจนการจัดนิทรรศการงานศิลปะของเด็กประถมศึกษา

2003801

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาพพิมพ์ 3
Preparation for Professional Experience in Print Making 3

2(90)

 

             จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนออกฝึก ประสบการณ์วิชาชีพในด้านการรับรู้ลักษณะและโอกาสของการประกอบอาชีพ การพัฒนาตัวผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพออกแบบประยุกต์ศิลป์ โดยการกระทำในสถานการณ์หรือรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานในวิชาชีพนั้น ๆ

2003802

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพศิลปกรรม 3
Preparation for Professional Experience in Fine and Applied Arts 3

2(90)

 

             จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนออกฝึก ประสบการณ์วิชาชีพในด้านการรับรู้ลักษณะและโอกาสของการประกอบอาชีพ การพัฒนาตัวผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพออกแบบประยุกต์ศิลป์ โดยการกระทำในสถานการณ์หรือรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานในวิชาชีพนั้น ๆ

2003901

เทคนิคการนำเสนอรูปแบบการออกแบบ
Design Present Project

3(2-2)

 

             ศึกษาทฤษฎีการร่างแบบ ขั้นตอนการเขียนบทสไลด์ ภาพยนตร์และวีดีโอเทป การทำ Animation การออกแบบวัสดุประกอบการ การให้แสง ทฤษฎีแสง อุปกรณ์ในการให้แสงในการละคร ภาพยนตร์และโทรทัศน์ และฝึกปฏิบัติการออกแบบ

2004101

ศิลปะไทย 3
Thai Art 3

2(1-2)

             ศิลปะไทยทางด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และศิลปะการช่างเชิงวิเคราะห์และการอนุรักษ์

2004102

สุนทรียภาพศึกษา 2
Aesthetic Education 2

2(1-2)

 

             ให้มีความรู้และความเข้าใจ จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ตรงทางสุนทรียภาพ การปฏิบัติการเรียนรู้วิธีมองกับสุนทรียวัตถุ การรู้จักหาค่าสุนทรียภาพจากปรากฏการณ์ในการรับรู้ การนำค่าของสุนทรียภาพมาเป็นประสบการณ์ทางความงามสำหรับตนเอง และสามารถนำไปสู่การสอนความรู้เชิงคุณค่าทางศิลปะได้

2004103

พิพิธภัณฑ์ศิลป์
Museum of Art

2(1-2)

 

             ศึกษาบทบาทและความสำคัญของการพิพิธภัณฑ์ ศูนย์วัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ศิลปะ และสถานที่แสดงผลงานศิลปะที่มีต่อสังคม โดยเน้นระบบและการดำเนินงาน การบริหารและองค์กร รูปแบบการจัดและการเสนอผลงานเพื่อให้บริการต่อชุมชน

2004801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาพพิมพ์ 3
Field Experience in Print Making 3

5(350)

             ฝึกงานในสถานประกอบการทางด้านวิชาชีพศิลปะ เช่น แหล่งปฏิบัติงานของศิลปิน โรงพิมพ์เอกชน และหน่วยงานราชการต่าง ๆ

2004802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพศิลปกรรม 3
Field Experience in Fine and Applied Art 3

5(350)

 

             นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานตามแขนงและสาขาที่นักศึกษามีความถนัดและสนใจเป็นพิเศษ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์วิชาชีพให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถนำผลจากการฝึกปฏิบัติงานไปใช้ประกอบอาชีพได้

     

2004902

ปัญหาศิลปะร่วมสมัย
Problems in Contemporary Art

2(1-2)

 

             ศึกษาให้รู้และเข้าใจ อิทธิพล บทบาท ปัญหารูปแบบ รวมทั้งแนวคิดและแนวโน้ม ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการเคลื่อนไหวของศิลปะในสังคม

     

2004903

การนำเสนอผลงานออกแบบนิเทศศิลป์
Art Presentation : Visual Communication Design

2(1-2)

 

             ศึกษา วิเคราะห์ สัมมนา และประเมินผลสะสมงานของแต่ละบุคคล หลังจากนั้นให้มีการแก้ไข ปรับปรุง หรือทำงานเพิ่มเติมจนกว่าผลงานจะอยู่ในระดับ

     

2004904

ศิลปะนิพนธ์
Art Thesis

3(2-2)

 

             ศึกษาข้อมูลและค้นคว้าในวิชาที่ศึกษามาโดยตรงตามที่ผู้เรียนแต่ละคนเลือก หรือสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนในวิชาเอกแต่ละสาขาได้ทำการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ภายใต้การนิเทศของอาจารย์ให้สาขาวิชานั้น ๆ ให้ต่อเนื่องกับวิชาที่ได้เรียนมาแล้ว

     

2004905

สัมมนาการออกแบบประยุกต์ศิลป์
Seminar in Applied Arts

3(2-2)

 

             ให้ศึกษาค้นคว้าและสำรวจข้อมูลด้านการออกแบบประยุกต์ศิลป์อย่างมีระบบ เพื่อนำเสนอและอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

   

2004906

โครงการพิเศษศิลปะการพิมพ์ 4(2-4)
Special Project in Applied Graphics
 

             ให้นักศึกษาเลือกหัวข้อเรื่อง เพื่อปฏิบัติงานศิลปะการพิมพ์ที่สมบูรณ์ ซึ่งจะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจและตัดสินโครงการพิเศษ ผ่านการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามขั้นตอนที่คณะกรรมการกำหนดให้จนกว่าผลงานจะแล้วเสร็จ และต้องผ่านการตรวจสอบของคณะกรรมการ และต้องจัดนิทรรศการผลงานให้ผู้สนใจได้ชม

     

2004907

โครงการพิเศษออกแบบนิเทศศิลป์
Special Projection in Applied Arts

4(2-4)

 

             นักศึกษาเลือกหัวข้อเรื่องเพื่อปฏิบัติงานออกแบบนิเทศศิลป์ที่สมบูรณ์ ซึ่งจะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจและตัดสินโครงการพิเศษ ส่วนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามขั้นตอนที่คณะกรรมการกำหนดให้จนกว่า จะแล้วเสร็จ และต้องผ่านการตรวจสอบของคณะกรรมการและต้องจัดนิทรรศการผลงานให้ผู้สนใจได้ชม

     

2004908

การนำเสนอผลงานชั้นสูง
Advanced Technique Presentation

3(2-2)

 

             การวิเคราะห์ สัมมนา และประเมินผลงานสะสมของแต่ละบุคคล ทำการแก้ไขปรับปรุงหรือทำงานเพิ่มเติม จนกว่าผลงานจะอยู่ในระดับที่จะนำไปประกอบอาชีพ หรือเป็นที่ยอมรับของบุคคลที่อยู่ในวงการออกแบบนิเทศศิลป์ การเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการสัมภาษณ์ การนำเสนอผลงานสะสมและการใช้ ชีวิตจริงในการเริ่มเข้าทำงาน

     

2004909

การนำเสนอผลงานออกแบบประยุกต์ศิลป์
Applied Arts Presentation

2(1-2)

 

             เมื่อนักศึกษาได้เลื่อนชั้นศึกษาในเทอมสุดท้ายของการเรียน จะได้มีการวิเคราะห์สัมมนาและประเมินผลสะสมของแต่ละบุคคล หลังจากนั้นจึงทำการแก้ไขปรับปรุง หรือทำงานเพิ่มเติมจนกว่าผลงานจะอยู่ในระดับ

     

2004910

โครงการพิเศษออกแบบประยุกต์ศิลป์
Special Projection in Applied Arts

4(2-4)

 

             นักศึกษาเลือกหัวข้อเรื่องเพื่อปฏิบัติงานศิลปะการพิมพ์ที่สมบูรณ์ ซึ่งจะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจและตัดสินโครงการพิเศษ ส่วนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามขั้นตอนที่คณะกรรมการกำหนดให้จนกว่า จะแล้วเสร็จ และต้องผ่านการตรวจสอบของคณะกรรมการและต้องจัดนิทรรศการผลงานให้ผู้สนใจได้ชม

 

ต่อไป