รหัสและคำอธิบายเล่ม3  >> หมวดวิชาฟิสิกส์

ต่อไป ต่อไป

: : หมู่วิชาฟิสิกส์: :

หมู่วิชาฟิสิกส์ ซึ่งอยู่ในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดลักษณะเนื้อหาวิชาออกเป็นดังนี้

1. วิทยาศาสตร์ทั่วไป

(401-1--)

2. ประยุกต์วิทยาศาสตร์

(401-2--)

3.ฟิสิกส์ทั่วไป

(401-3--)

4.ฟิสิกส์ยุคใหม่

(401-4--)

5. ฟิสิกส์ประยุกต์

(401-5--)

6.ปฏิบัติการฟิสิกส์

(401-6--)

7.

(401-7--)

8.การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

(401-8--)

9. โครงการพิเศษ ปัญหาพิเศษ วิทยานิพนธ์ โครงการศึกษาเอกเทศ การสัมมนา และวิจัย    

(401-9--)

หมู่วิชาฟิสิกส์ (401)

รหัสวิชา ชื่อวิชา น(ท-ป)
รหัสใหม่ รหัสเก่า

 

4011301

4011302

4011305

4011306

4011309

4011310

4011501

4011502

4011503

4011504

4011506

4011507

4011601

4011602

4012201

4012202

4012203

4012302

4012303

4012304

4012401

4012501

4012502

4012503

4012601

4012602

4013301

4013302

4013303

4013304

4013306

4013307

4013401

4013402

4013403

4013404

4013405

4013406

4013501

4013502

4013503

4013504

4013505

4013601

4013602

4013801

4013901

4014401

4014402

4014403

4014404

4014405

4014406

4014501

4014502

4014503

4014504

4014505

4014506

4014601

4014801

4014901

4014902

4014903

 

 

 

 

 

4011304

 

 

ฟิสิกส์ทั่วไป 1

ฟิสิกส์ทั่วไป 2

ฟิสิกส์ 1

ฟิสิกส์ 2

ฟิสิกส์พื้นฐาน

หลักฟิสิกส์

ฟิสิกส์ประยุกต์

กลศาสตร์ประยุกต์

ฟิสิกส์ในบ้าน

ฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน

การทดสอบยางทางฟิสิกส์

ความแข็งแรงของวัสดุ

ปฏิบัติการฟิสิกส์ 1

ปฏิบัติการฟิสิกส์ 2

กลศาสตร์ 1

แม่เหล็กไฟฟ้า 1

ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์

ฟิสิกส์ของคลื่น

วิทยาศาสตร์พลังงานเบื้องต้น

ฟิสิกส์ของคลื่น 1

ฟิสิกส์แผนใหม่

การผลิตอุปกรณ์การสอนฟิสิกส์

ฟิสิกส์และเทคโนโลยี

ฟิสิกส์ของพอลิเมอร์

ปฏิบัติการกลศาสตร์

ปฏิบัติการแม่เหล็กไฟฟ้า 1

กลศาสตร์

แม่เหล็กไฟฟ้า

สนามแม่เหล็กไฟฟ้า

อุณหพลศาสตร์

เสียง

ทัศนศาสตร์

กลศาสตร์ควอนตัม 1

กลศาสตร์ควอนตัม 2

ฟิสิกส์นิวเคลียร์ 1

ฟิสิกส์นิวเคลียร์ 2

กลศาสตร์ 2

แม่เหล็กไฟฟ้า 2

อิเล็กทรอนิกส์ 1

อิเล็กทรอนิกส์ 2

วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า

เครื่องมือวัดอิเล็กทรอนิกส์

เครื่องกลไฟฟ้า

ปฏิบัติการฟิสิกส์ของคลื่น

ปฏิบัติการฟิสิกส์แผนใหม่

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพฟิสิกส์ 3

โครงงานฟิสิกส์

สเปกโทรสโกปีของโมเลกุลเบื้องต้น

รังสีวิทยา

สเปกตรัมอะตอม

การวิเคราะห์ผลึกด้วยรังสีเอ็กซ์

ฟิสิกส์เชิงสถิติ

ฟิสิกส์สถานะของแข็ง

การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์

ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์

ระบบไมโครโปรเซสเซอร์

ออปโตอิเล็กทรอนิกส์

นิวเคลียร์อิเล็กทรอนิกส์

ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์และการประสาน

ปฏิบัติการนิวเคลียร์ฟิสิกส์

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพฟิสิกส์ 3

โครงการศึกษาเอกเทศฟิสิกส์

สัมมนาฟิสิกส์

โครงงานฟิสิกส์

 

3(2-2)

3(2-2)

3(3-0)

3(3-0)

3(2-3)

3(2-2)

3(2-2)

2(2-0)

2(1-2)

2(2-0)

3(2-2)

3(2-2)

1(0-3)

1(0-3)

3(3-0)

3(3-0)

3(3-0)

3(3-0)

3(3-0)

3(2-2)

3(3-0)

3(2-2)

2(2-0)

3(3-0)

1(0-3)

1(0-3)

3(3-0)

3(3-0)

3(3-0)

3(3-0)

3(3-0)

3(3-0)

3(3-0)

3(3-0)

3(3-0)

3(3-0)

3(3-0)

3(2-2)

3(2-2)

3(2-2)

3(2-2)

3(2-2)

1(0-3)

1(0-3)

2(90)

2(1-2)

3(3-0)

3(3-0)

3(3-0)

3(3-0)

3(3-0)

3(3-0)

3(2-2)

3(2-2)

3(2-2)

3(2-2)

3(3-0)

3(2-2)

3(2-2)

1(0-3)

5(250)

2(2-0)

2(1-2)

2(0-6)

 

คำอธิบายรายวิชา

หมู่วิชาฟิสิกส์ (401)

รหัส  ชื่อและคำอธิบายรายวิชา  

น(ท - ป)

4012201  ฟิสิกส์ทั่วไป 1
3(2-2)
General Physics 1
                 การวัดและความแม่นยำในการวัดสเกลาร์และเวคเตอร์ การเคลื่อนที่ในลักษณะต่าง ๆ โมเมนตัมและกฎการเคลื่อนที่แรง และผลของแรง งาน กำลัง และ พลังงาน การเคลื่อนที่ฮาร์มอนิก การเคลื่อนที่แบบคลื่น คลื่นกล สมบัติของสสาร ปรากฏการณ์ความร้อนอุณหพลศาสตร์ โดยจัดให้มีการสาธิตและการทดลองตาม ความเหมาะสม
     
4011302 ฟิสิกส์ทั่วไป 2

3(2-2)

General Physics 2
                ประจุไฟฟ้า กฎของคูลอมป์ สนามไฟฟ้า กฎของเกาส์ ศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กฎของโอห์ม กฎของเคอร์ชอฟป์ แรงลอเรนซ์ สนามแม่เหล็กอันเนื่องจากกระแสไฟฟ้า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ สารแม่เหล็ก การแกว่งกวัดของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นกล แรงเชิงเรขาคณิต สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ โครงสร้างอะตอม กัมมันตภาพรังสี นิวเคลียสและการสลายตัวของนิเคลียส
     
4011305 ฟิสิกส์ 1
3(3-0)
Physics 1
                 การวัดความแม่นยำและความเที่ยงตรงในการวัด หน่วย ปริมาณสเกลาร์ และเวคเตอร์ ตำแหน่งและการเคลื่อนที่ของวัตถุ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน งาน กำลัง พลังงาน กฎการอนุรักษ์ของพลังงานและโมเมนตัม ความยืดหยุ่นของวัตถุ คลื่นกล ปรากฏการณ์ทางความร้อน หลักการเบื้องต้นทางอุณหพลศาสตร์ การขยายตัว การเปลี่ยนสถานะ และการถ่ายเทความร้อน
     
4011306 ฟิสิกส์ 2
3(2-2)
Physics 2
                 ประจุไฟฟ้า กฎของคูลอมบ์ สนามไฟฟ้า กฎของเกาส์ ศักย์ไฟฟ้า ความจุไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กฎของโอห์ม กฎของเคอร์ชอพฟ์ แรงของรอเรนซ์ สนามแม่เหล็กอันเนื่องมาจากกระแสไฟฟ้า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ สารแม่เหล็ก การแกว่งกวัดของสนามไฟฟ้า แสงเชิงเรขาคณิต สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทฤษฎีสัมพันธ-ภาพพิเศษ โครงสร้างอะตอม กัมมันตภาพรังสี นิวเคลียสและการสลายนิวเคลียส
     
4011309 ฟิสิกส์พื้นฐาน
3(2-3)
Fundamental Physics
                 ระบบหน่วย เวกเตอร์ การเคลื่อนที่ของวัตถุ โมเมนตัม กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน โมเมนต์ งาน กำลัง พลังงาน เครื่องกลอย่างง่าย ความหนาแน่น หลักของอาร์-คีเมเดส ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ความร้อน ไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้า กัมมันตภาพรังสี และการประยุกต์ใช้
     
4011310 หลักฟิสิกส์
3(2-2)
Fundamental Physics
                 สเกลาร์และเวคเตอร์ การเคลื่อนที่ในลักษณะต่าง ๆ โมเมนตัมและกฎการเคลื่อนที่ของวัตถุ การกระทบของวัตถุใน 1 มิติ และ 2 มิติ การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์โมนิก การเกิดประจุไฟฟ้าและอิเลคโตรสโคปกฎของโอห์ม การอัดและการคายประจุไฟฟ้าในวงจร การแทรกสอด การเลี้ยวเบน การหักเหของแสง การเกิดคลื่นนิ่งในเส้นเชือก หาค่าความจุความร้อนและความจุความร้อนจำเพาะของวัตถุ
     
4011501 ฟิสิกส์ประยุกต์
3(2-2)
Applied Physics
                 เข้าใจในหลักการทำงาน การให้ความหมายของคำต่าง ๆ ในทางฟิสิกส์ โดยเฉพาะด้านไฟฟ้า รู้จักวิธีต่อและบัดกรีส่วนประกอบ รู้แบบวงจรไฟฟ้า รู้จักเครื่องมือที่จำเป็นเกี่ยวกับวิธีใช้ วิธีแก้ข้อขัดข้อง ตลอดจนการเก็บรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านศึกษารายละเอียดเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด พร้อมทั้งการคำนวณและการปฏิบัติการ
     
4011502 กลศาสตร์ประยุกต์
2(2-0)
Applied Mechanics
                 ศึกษาคำจำกัดความของแรง มวลและน้ำหนัก ศึกษาระบบแรงต่าง ๆ การรวมแรง แยกแรง ความสมดุลของแรง ความเค้น ความเครียด ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้น ความเครียด โมเมนต์ แรงศักย์ที่จุดรองรับ สัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับโครงสร้าง โครงถัก การคำนวณในโครงถักโดยวิธีต่าง ๆ เช่น Method of Joint, Method of Section Graphical Method ศึกษาเกี่ยวกับ Gentrod, Moment of Inertia, Internal Force, Shearing Force Diagram and Bending Moment Diagram โครงสร้างที่รับแรงดัด (Flexural Formular) ชนิดของคาน การโก่งของคาน โครงสร้างที่รับแรงตามแนวแกนและแรงตัดร่วมกัน
     
4011503 ฟิสิกส์ในบ้าน
2(2-0)
Household Physics
                 กฎเกณฑ์ ทฤษฎีในทางกลศาสตร์ เสียง แสง ความร้อน แม่เหล็กไฟฟ้า การประยุกต์กฎเกณฑ์และทฤษฎีดังกล่าว สำหรับเครื่องใช้ในบ้าน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของการใช้
     
4011504 ฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน
2(2-0)
Physics for Everyday life
                 ศึกษาเครื่องมือทางฟิสิกส์ที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เกี่ยวกับหลักการทำงานส่วนประกอบ หลักการใช้ และการบำรุงรักษา จนสามารถใช้ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย สามารถตรวจสอบข้อบกพร่องและซ่อมแซมได้ตามสมควร สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่น
     
4011506 การทดสอบยางทางฟิสิกส์
3(2-2)
Rubber Physical Test
                 การทดสอบสมบัติของยาง การคำนวณอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ การหาแรงยึด แรงต้านทางการดึง การยืดตัว ความทนทานต่อการสึกหรอ อายุการใช้งาน การพองตัวของยางในน้ำมันและความยืดหยุ่นของยาง
     
4011507 ความแข็งแรงของวัสดุ
3(2-2)
Strength of Materials
                 ศึกษาภาคทฤษฎีและการทดสอบเกี่ยวกับวัสดุ ประกอบโลหะและอโลหะความแข็งแรงของวัสดุเกี่ยวกับโครงสร้างและส่วนประกอบของเครื่องกล ความเค้น (Stress) ความเครียด (Strain) โมดูลัสยืดยุ่น (Modulus of Elasticity) และส่วนปลอดภัย (Safety Factor ) ในการออกแบบเครื่องกล
     
4011601 ปฏิบัติการฟิสิกส์ 1
1(0-3)
Physics Laboratory 1
                 ปฏิบัติการเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ 1 ไม่น้อยกว่า 10 ปฏิบัติการ
     
4011602 ปฏิบัติการฟิสิกส์ 2
1(0-3)
Physics Laboratory 2
                 ปฏิบัติการเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ 2 ไม่น้อยกว่า 10 ปฏิบัติการ
     
4012201 กลศาสตร์ 1
3(3-0)
Mechanics 1
                 ปริภูมิและเวลา กฎของนิวตัน มวลและแรง การเคลื่อนที่เชิงเส้น การแกว่งกวัดแบบฮาร์มอนิก พลังงานและโมเมนตัมเชิงมุม แรงอนุรักษ์แบบมีศูนย์กลาง กรอบอ้างอิงแบบหมุน กรอบอ้างอิงแบบจุดศูนย์กลางมวล การเคลื่อนที่รอบแกนหมุน หลักเบื้องต้นกลศาสตร์แบบลากรอง และแบบแฮมิลตัน
     
4012202 แม่เหล็กไฟฟ้า 1
3(3-0)
Electricity and Magnetism 1
                 ไฟฟ้าสถิต พลังงานไฟฟ้าสถิต กระแสไฟฟ้า ไดอิเล็กตริก สนามแม่-เหล็ก เนื่องจากกระแสไฟฟ้าคงที่ การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า สารแม่เหล็ก พลังงานแม่เหล็ก สมการแมกซ์เวลล์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
     
4012203 ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์
3(3-0)
Mathematical Physics
                 วิชาฟิสิกส์ในรูปของคณิตศาสตร์ การเคลื่อนที่และปริภูมิการเปลี่ยนของปริมาณที่ขึ้นอยู่กับเวลาและอวกาศ การบวกทางกายภาพ กฎเอกโปเนนเชียลออสซิลเลเตอร์ แรงและสนามศักย์ แหล่งกำเนิดสนามหมุน การไหลของความร้อนในทรงกระบอก การวิเคราะห์แบบฟูเรียร์
     
4012302 ฟิสิกส์ของคลื่น
3(3-0)
Physics of Wave
วิชาที่ต้องเรียนมา : 4011306 ฟิสิกส์ 2
                 กฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์ของคลื่นเกี่ยวกับชนิด และการเคลื่อนที่ของคลื่นในตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ สมการคลื่นและผลเฉลยของสมการ พลังงานและโมเมนตัมของคลื่น การรวมกันของคลื่น ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ การแทรกสอดและการเลี้ยวเบนของคลื่น โพลาไรซ์ของคลื่น อันตรกิริยาของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับสสาร ประโยชน์และการประยุกต์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
     
4012303 วิทยาศาสตร์พลังงานเบื้องต้น
3(3-0)
Introduction to Science Energy
                 วิกฤติการณ์พลังงาน สภาพการณ์ปัจจุบัน ศักยภาพและปัญหาของแหล่งพลังงานต่าง ๆ แหล่งพลังงานที่เกิดขึ้นใหม่ได้และเกิดขึ้นใหม่ไม่ได้ เชื้อเพลิงฟอสซิล ถ่านหินปิโตเลียม และก๊าซธรรมชาติ พลังงานจากใต้พิภพ พลังงานจากน้ำ ลม ชีวเชื้อเพลิง แสงอาทิตย์ และพลังงานนิวเคลียร์
     
4012304 ฟิสิกส์ของคลื่น 1
3(2-2)
Physics of Wave 1
                 คณิตศาสตร์พื้นฐานเกี่ยวกับฟิสิกส์ของคลื่น การแกว่งกวัดของระบบกลศาสตร์และไฟฟ้า คลื่นในเชือกหรือขดลวดยืดออก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แสงเชิงกายภาพและการหักเหของแสง คลื่นกล คลื่นที่ไม่เป็นเชิงเส้นบนผิวน้ำ ปรากฏ-การณ์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น และมีการปฏิบัติตามความเหมาะสม
     
4012401 ฟิสิกส์แผนใหม่
3(3-0)
Modern Physics
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4011306 ฟิสิกส์ 2
                 ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ การแผ่รังสีของวัตถุดำ คุณสมบัติคู่ของคลื่นและ-อนุภาคหลักความไม่แน่นอนของไฮเชนเบิร์ก ทฤษฎีอะตอม สเปกตรัมของอะตอม รังสีเอ็กซ์ เลเชอร์ กลศาสตร์ควอนตัมเบื้องต้น อะตอมโมเลกุลของของแข็ง นิวเคลียสของอะตอม กัมมันตภาพรังสี และอนุภาคมูลฐาน
     
4012501 การผลิตอุปกรณ์การสอนฟิสิกส์
3(2-2)
Construction of Physics Materials
                 ศึกษาเทคโนโลยีการศึกษาพื้นฐานเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการผลิตสื่อทางฟิสิกส์ เช่น หน่วยการเรียน บทเรียนสำเร็จรูป ฯลฯ และสามารถผลิตอุปกรณ์การสอนฟิสิกส์ที่นำไปใช้สอนได้พร้อมกับการซ่อม บำรุงรักษาอุปกรณ์การสอนฟิสิกส์ทุกแขนง มุ่งเน้นให้นักศึกษาเกิดทักษะในการใช้การซ่อม การบำรุงรักษาอุปกรณ์ฟิสิกส์
     
4012502 ฟิสิกส์และเทคโนโลยี
2(2-0)
Physics and Technology
                 ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของเทคโนโลยี ชนิดของเทคโนโลยีและวิวัฒนาการของเทคโนโลยี ความสำคัญของวิชาฟิสิกส์ในการพัฒนาเทคโนโลยีของมนุษย์ ให้มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการสื่อสาร คมนาคม อุตสาหกรรม การแพทย์และอื่น ๆ
     
4012503 ฟิสิกส์ของพอลิเมอร์
3(3-0)
Polymer Physics
                 สมดุลของการยืดหยุ่นของพอลิเมอร์ ลักษณะการจัดตั้งของโมเลกุลขณะยืด การผ่อนคลายความเครียดในพอลิเมอร์ การไหลของพอลิเมอร์ ลักษณะการเคลื่อนไหวของพอลิเมอร์ สมบัติทางความร้อน สมบัติทางไฟฟ้า สมบัติทางกล ความแข็งแรง ความทนทานต่อการฉีกขาด การซึมของก๊าซทะลุผ่านของพอลิเมอร์ การแปรสภาพสมบัติทางฟิสิกส์ของพอลิเมอร์เมื่อตั้งทิ้งไว้
     
4012601 ปฏิบัติการกลศาสตร์
1(0-3)
Mechanics Laboratory
                 ปฏิบัติการเพื่อศึกษาเรื่องแรงและสภาพสมดุลของวัตถุ เครื่องกลชนิดต่าง ๆ แรงเสียดทาน การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง ความเร่งเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก การเคลื่อนที่แบบวงกลม การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก โมเมนต์ของความเฉื่อย เพนดูลัมเชิงประกอบ เพนดูลัมการบิด
     
4012602 ปฏิบัติการแม่เหล็กไฟฟ้า
1(0-3)
Electromagnetic Laboratory
                 ปฏิบัติการเพื่อศึกษาวงจรไฟฟ้ากระแสตรง การใช้เครื่องมือทางไฟฟ้า เช่น มัลติมิเตอร์ ออสซิลโลสโคป กฎของเคียร์ซอฟท์ วงจรบริดจ์ โพเทนซิ-ออมิเตอร์ การทดลองเพื่อศึกษาค่าคงที่ของฟาราเดย์ คุณสมบัติของตัวเก็บประจุ ศึกษาการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า การวัดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากขดลวดโซลีนอยด์ หม้อแปลงไฟฟ้า คุณสมบัติทางแม่เหล็กของสสาร วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ ความต้านทานจินตภาพในวงจร C-R,L-R และการกำหนด (resonance)ในวงจร LCR
     
4013301 ปฏิบัติการแม่เหล็กไฟฟ้า
3(3-0)
Mechanics
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4011305 ฟิสิกส์ 1
                 การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกส์ แรงศูนย์กลาง พลวัตของระบบอนุภาค แรงดึงดูดระหว่างมวล สนามโน้มถ่วง กลศาสตร์ของไหล การเคลื่อนที่ของวัตถุแข็งแกร็ง พลวัตของไจโรสโคปและกลศาสตร์แบบลากราน
     
4013302 แม่เหล็กไฟฟ้า
3(3-0)
Electromagnetism
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4011306 ฟิสิกส์ 2
                 พื้นฐานอันตรกิริยาไฟฟ้า และอันตรกิริยาแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า สนามไฟฟ้าสถิต สนามไฟฟ้าในตัวนำและไดอิเล็กตริก สนามแม่เหล็ก กฎของบิโอ-สวาตท์ กฎของแอมแปร์ สนามไฟฟ้าที่แปรค่าตามเวลา กฎของฟาราเดย์และกฎของเลนซ์ (Lenz's law) สมบัติทางแม่เหล็กของสสาร ไฟฟ้ากระแสสลับ วงจรซึ่งประกอบด้วย RL และ C สมการของแม็กซ์เวลล์การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
     
4013303 สนามแม่เหล็กไฟฟ้า
3(3-0)
Eectromagnetic field
                 สนามไฟฟ้าสถิต ตัวนำและไดอิเล็กตริก ความจุไฟฟ้า กระแสการพาและกระแสการนำ สนามแม่เหล็กเนื่องจากกระแส แรงและแรงบิดที่กระทำต่อกระแสในสนามแม่เหล็กความเหนี่ยวนำ การเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า สมการของแมกซ์เวล คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในตัวกลาง ชนิดไอโชทรอนิก ตัวนำสำหรับสายส่ง สายอากาศและท่อนำคลื่น (fiber and optics)
     
4013304 อุณหพลศาสตร์
3(3-0)
Thermodynamics
                 กฏข้อที่ศูนย์ของอุณหพลศาสตร์ ก๊าซในอุดมคติ ทฤษฏีจลน์ของก๊าซ กฏข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์ ความดัน อุณหภูมิของก๊าซ ระยะทางเฉลี่ย ความเร็วเฉลี่ยของอนุภาค การเคลื่องที่แบบราวเนียน สมการแสดงสถานะของแวนเดอร์วาลล์ เอนโทรปีกับกฏข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์ กระบวนการแปรผันกลับได้ และแบบแปรผันกลับไม่ได้ วัฏจักรของคาร์โน ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ และการประยุกต์
     
4013306 เสียง
3(3-0)
Acoustics
                 ธรรมชาติและความเร็วของเสียง ความกดดัน กำลังและความเข้มเสียง เครื่องมือวัดเสียงและวิธีการวัดเสียง คลื่นเชิงทรงกลม ความดังของเสียง การส่งผ่านตัวกลางของเสียง การกรองและการขยายความก้องของเสียง เสียงในบรรยากาศ การดูดกลืนเสียง สวนศาสตร์ สถาปัตยกรรม อุปกรณ์ทางเสียงบางชนิด
     
4013307 ทัศนศาสตร์
3(3-0)
Optics
                 ทัศนศาสตร์เชิงเรขาคณิตและเชิงฟิสิกส์ การแทรกสอด ฟาร์ฟิลด์ดิฟแฟรกชัน เฟรส์ เนลดิฟแฟรกชัน โคฮีเรนซ์ และโพลาไรเซชัน
     
4013401 กลศาสตร์ควอนตัม 1
3(3-0)
Quantum Mechanics 1
                 มโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยาการพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม สมการคลื่นของ schrodinger ฟังก์ชั่น Probability density Harmonics และระดับพลังงาน การประยุกต์ใช้สมการคลื่นกับอะตอมของไฮโดรเจน สเปกตรัมของไฮโดรเจน Quantization of angular momentum Zemman efect spin orbit interation อะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอน (Atom with many electron)
     
4013402 กลศาสตร์ควอนตัม 2
3(3-0)
Quantum Mechanics 2
                 หลักแห่งความไม่แน่นอน Complementarity wave packets Operators เลขควอนตัม สมการ Schrodinger ที่ขึ้นกับเวลา การเครื่อนที่ของอนุภาคในมิติเดียวและหลายมิติ โมเมนตัมเชิงมุมและสปิน วิธีการประมาณ(Approximation methods) สมการคลื่นในเชิงสัมพันธภาพ(Relativity wave equation) และปัญหาของการกระเจิง(Scattering problems)
     
4013403 ฟิสิกส์นิวเคลียร์ 1
3(3-0)
Nuclear Physics 1
                 นิวเคลียสของอะตอม แรงนิวเคลียร์และเสถียรภาพของนิวเคลียส ทฤษฎีการสลายให้รังสีอัลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมาของนิวเคลียส กฎการสลายตัวของสารกัมตรังสีสมดุลของการสลายตัว สารกัมมันตรังสีทั้งที่มีในธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้น ตารางนิวไคล์และแผนผังการสลายตัวของนิวเคลียส ปฏิกิริยานิวเคลียร์ พลังงานนิวเคลียร์ เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เครื่องวัดรังสี ประโยชน์ โทษและการป้องกันอันตรายจากรังสี โดยจัดให้มีการคำนวณและปฏิบัติการตามความเหมาะสม
     
4013404 ฟิสิกส์นิวเคลียร์ 2
3(3-0)
Nuclear Physics
                 นิวตรอนฟิสิกส์เบื้องต้น โปรตอน สภาพการสลายตัวในกระบวนการรังสี อัลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมา ขั้นพลังงานที่ได้จากการสลายตัวของนิวเคลียส กระบวนการเกิดปฏิกิริยาและแรงนิวเคลียร์ (Nuclear reaction and force) ปฏิกริยาแยกสลาย (Fission) เครื่องเร่งอนุภาค อันตรกิริยา นิวคลีออน (Nucleon0nucleon interraction) nuclear spin and magnetism แรงนิวเคลียร์ แบบจำลองนิวเคลียส รังสีคอสมิก และ sub-nuclear particles ฟิสิกส์พลังงานสูงเบื้องต้น (Introduction to high energy physics)
     
4013405 กลศาสตร์ 2
3(3-0)
Mechanic 2
                 การแทนด้วยเมทริกซ์ ระบบพิกัดเคลื่อนที่ ออสซิลเลเตอร์ พลศาสตร์ของวัตถุแกร่ง สมการลากรอง ทฤษฎีแฮมิลตัน หลักการแปรผัน (Matrix resentations ; movingcoordinate systems ;oscillators ; rigidbody dynamics ; Lagrange's ; Harmiltonian theory ; variational principles.)
     
4013406 แม่เหล็กไฟฟ้า 2
3(3-0)
Electricity and Magnetism 2
                 การประยุกต์สมการแมกซ์เวลล์ ฟิสิกส์พลาสมา ไมโครเวฟ พลศาสตร์ ไฟฟ้า (Application of Maxwell's equations ; plasma physics ; microwaves ; electrodynamics.)
     
4013501 อิเล็กทรอนิกส์ 1
3(2-2)
Electronics 1
                 ทฤษฎีและการใช้งานเกี่ยวกับตัวนำ ตัวต้านทาน ฉนวน สารกึ่งตัวนำ โครงสร้างสัญญลักษณ์ แบบและชนิดตัวต้านทาน, ตัวเก็บประจุ, ตัวเหนี่ยวนำ, รีเลย์ คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของสิ่งประดิษฐ์สารกึ่งตัวนำไดโอด วงจรกรองกระแส (Rectifier) แบบต่าง ๆ และฟิลเตอร์แบบต่าง ๆ operating point กราฟลักษณะสมบัติ ค่าพารามิเตอร์ และค่าสำคัญต่าง ๆ ที่บอกไว้ในคู่มือของไดโอด และทรานซิสเตอร์ วงจรทรานซิสเตอร แบบ CB, CE และ CC การไบแอสทรานซิสเตอร์แบบต่าง ๆ lond line การศึกษาชนิดและการประยุกต์ใช้งานแบบต่าง ๆ ทั้งแบบดิจิตอลและแบบลิเนียร์ไอซี ไอซีออปแอมป์ งานปฏิบัติการต่อวงจร การวัดและการทดสอบไดโอด สารกึ่งตัวนำวงจรกรองกระแส แบบต่าง ๆ พร้อมฟิลเตอร์โดยใช้ออสซิลโลสโปและมัลติมิเตอร์ การต่อวงจร การไบแอสวงจรทรานซิสเตอร์ไอซีแบบต่าง ๆ วงจรออปแอมป์ วงจรกำเนิดความถี่และวงจรเครื่องขยายสัญญาณ
     
4013502 อิเล็กทรอนิกส์ 2
3(2-2)
Electronics 2
                 หลักการ แบบแผน และการออกแบบวงจร แหล่งกระแสคงที่ วงจรจ่ายแรงดันคงที่ วงจรขยายสัญญาณขนาดเล็ก (small signal amplifier) วงจรขยายกำลังแบบต่าง ๆ วงจรขยายสัญญาณแบบดาร์ลิงตัน วงจรขยายดิฟเฟอร์เรนเชียล วงจรสวิทซ์ วงจรชมิท ทริกเกอร์ วงจรมัลติไวเบรเตอร์ชนิดต่าง ๆ วงจรออสซิลเลชั่น วงจรจูนออซิลเลชั่น วงจรกลับเฟสและวงจรเลื่อนความถี่ การไบแอสเอฟอีที และการนำไปใช้งานโครงสร้าง และคุณสมบัติยูเจที และการนำมาใช้ในวงจรออสซิลเลชั่น วงจรสื่อสารและการมอดูเลชั่นแบบต่าง ๆ
     
4013503 วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า
3(2-2)
Electric Circuit Analysis
                 ทฤษฎีวงจรไฟฟ้า การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสตรง โครงสร้างสัญญลักษณ์ คุณลักษณะ สมบัติ และผลตอบสนองของ LR และ C ในวงจร ไฟฟ้ากระแสตรง ค่าคงตัวเวลา (time constant) การวิเคราะห์วงจรแม่เหล็กไฟฟ้า การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ คุณลักษณะ สมบัติ และผลตอบสนองของ R, L และ C และหม้อแปลงในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับหลายเฟส สัญญาณไฟฟ้าที่เป็นรูปไชน์ ฮาร์โมนิกส์ฟังก์ชั่น และกราฟสัญญาณไฟฟ้าพารามิเตอร์ของสัญญาณพัลส์ การแปลงรูปสัญญาณไฟฟ้าแบบลีเนียร์ ดิฟเฟอร์เรนซิเอเตอร์ และอินติเกรเตอร์
     
4013504 เครื่องมือวัดอิเล็กทรอนิกส์
3(2-2)
Electronics Instrumentation
                 การวัด หน่วยของการวัด ความเที่ยงตรงและความแม่นยำในการวัด การเก็บข้อมูลในการวัดค่าเฉลี่ย D" Arsonval galvanometer โวลมิเตอร์ แอมมิเตอร์ โอห์มมิเตอร์ มัลติมิเตอร์ และการออกแบบ Electrodynamics Electronics phase meter วงจรบริดจ์แบบต่าง ๆ และการวัดวงจรอิมพิแดนซ์ด้วยวงจรบริดจ์ หลักการวัดความถี่แบบต่าง ๆ การวัดความถี่ด้วยวงจรเรโซแนนซ์ ออสซิลโลสโคป การใช้ออสซิลโลสโคป การวัดขนาดของรูปสัญญาณต่าง ๆ การวัดความถี่ การวัดมุมเฟส การเปลี่ยนสัญญาณ A/D และ D/A การเปลี่ยนแรงดันเป็นความถี่ การใช้ transducer ในการวัดค่าต่าง ๆ และเครื่องมือวัดอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม
     
4013505 เครื่องกลไฟฟ้า
3(2-2)
Electrical Machines
                 ศึกษาโครงสร้างและการทำงานของเครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง ปฏิกิริยาอาร์มาเจอร์ และคอมมิวเตชั่น การทดสอบเครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง การสูญเสียและประสิทธิภาพ การแปลงผันพลังงานในเครื่องกลกระแสสลับ สนามแม่เหล็กหมุนมอเตอร์เหนี่ยวนำและวิธีควบคุมความเร็ว หม้อ-แปลงกำลังและการต่อหม้อแปลง พลศาสตร์ของเครื่องกลกระแสสลับ
     
4013601 ปฏิบัติการฟิสิกส์ของคลื่น
1(0-3)
Wave Physics Laboratory
                 ปฏิบัติการเพื่อการศึกษาการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก และการเคลื่อนที่แบบคลื่นการรวมตัวของคลื่น คลื่นนิ่ง บีตส์ การสั่นพ้อง (resonance) ของคลื่น ความเร็วของคลื่นในตัวกลางชนิดต่าง ๆ กระจกโค้ง เลนส์บาง สเปกโทรมิเตอร์ คุณสมบัติ การหักเห สะท้อน แทรกสอด และเลี้ยวเบนของคลื่น การวัดความยาวคลื่นของแสงสีเดียว เช่น แสงโซเดียม แสงเลเซอร์ โดยอาศัยคุณสมบัติของคลื่นแสง
     
4013602 ปฏิบัติการฟิสิกส์แผนใหม่
1(0-3)
Modern Physics Laboratory
                 ปฏิบัติการเพื่อหาค่าประจุ และประจุต่อมวลชนของอิเล็กตรอน การทดลอง การกระเจิงของรังสีแอลฟา การทดลองของไมเคลสัน - มอร์ลีย์ สเปกตรัม อะตอม ไฮโดรเจน การทดลองของฟรังก์และเฮิร์ตซ์ ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก ปรากฏการณ์ คอมป์ตัน สเปกโทรสโกปีของรังสีเอ็กซ์
     
4013801 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพฟิสิกส์ 3
2(90)
Preparation for Professional Experience in Physics 3
                 ฝึกงานในหน่วยงานราชการหรือเอกชนไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง
     
4013901 โครงงานฟิสิกส์
2(1-2)
Physics Project
                 ให้นักศึกษาเลือกทำโครงงานวิจัยหรือค้นคว้าด้วยตนเองในหัวข้อที่สนใจมากที่สุด โดยการเสนอหัวข้อที่จะค้นคว้าหรือทดลองในลักษณะเฉพาะตัวเป็นกลุ่มต่ออาจารย์ผู้สอนวางแผนให้เป็นขั้นตอนและเหมาะสมกับวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ หัวข้อที่จะทำการทดลองหรือค้นคว้าให้อยู่ในดุลพินิจของอาจารย์ผู้สอน
     
4014401 สเปกโทรสโกปีของโมเลกุลเบื้องต้น
3(3-0)
Introduction to Molecular Spectroscopy
                 ระดับพลังงานที่ปล่อยออกมาจากการเกิด electronic transition แถบรังสีวิทยาที่เกิดจากการสั่นสบัด (vibration spectroscopy) แถบรังสีวิทยาของ Micro waves, electron spin, resonance และ spin resonance
     
4014402 รังสีวิทยา
3(3-0)
Radiology
                 ศึกษาเกี่ยวกับ Basic Wave Mechanics หลักการแผ่รังสี การตรวจวัดปริมาณรังสี การนำรังสีไปใช้ทางการแพทย์ เกษตร และอุตสาหกรรม กิจกรรมนิวเคลียร์ ผลผลิตโทษของรังสี การป้องกันและปัญหาทางรังสีวิทยากับสภาวะแวดล้อมและชีวิต ทฤษฎีแสงต่าง ๆ คลื่นที่เป็นอนุภาคได้ Planck's Quantum theory of black body radiation ปรากฎการณ์โฟโตอิเลคตริก รังสีเอกซ์ X-Ray diffraction ปรากฎการณ์ ควอนตัม อนุภาคพื้นฐานต่าง ๆ การประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ยุคใหม่
     
4014403 สเปกตรัมอะตอม
3(3-0)
Atomic Spectra
                 ศึกษาแถบรังสีของอะตอมที่เกิดจากธาตุชนิด Two valence electrons การศึกษาชั้นพลังงานแบบ fine structure, bhyperfine structure ผลกระทบแบบซีมาน ผลกระทบแบบ Parshen-Back แถบรังสีแบบผสมจากอะตอม (Complex spectra radiation)
     
4014404 การวิเคราะห์ผลึกด้วยรังสีเอ็กซ์
3(3-0)
X-Ray Crystallography
                 รังสีเอ็กซ์ในธรรมชาติ และที่ประดิษฐ์ขึ้น พลังงานของรังสีเอ็กซ์ การดูดกลืนรังสีเอ็กซ์หลักการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ กฎของแบรกก์ ดัชนีมิลเลอร์ ทฤษฎีการเลี้ยวเบนเชิงเรขาคณิตของรังสีเอ็กซ์ Reciprocal lettice, Direct and reciprocal
     
4014405 ฟิสิกส์เชิงสถิติ
3(3-0)
Statistical Physics
                 ภาวะสมดุลทางสถิติ กฎการกระจายของแมกซ์เวลล์-โบลทซ์มาน อุณหภูมิภาวะสมดุลของความร้อน งานและความร้อนของระบบหลายอนุภาค กฎข้อแรกและข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์ เอนโทรปี การประยุกต์ใช้อุณหพลศาสตร์ คุณสมบัติเชิงความร้อนของก๊าซสถิติควอนตัม สมดุลของปฏิกิริยาเคมี สมการเอม-ไพริกับของสถานะ
     
4014406 ฟิสิกส์สถานะของแข็ง
3(3-0)
Solid State Physics
                 กฎเกณฑ์และทฤษฎีเบื้องต้นของฟิสิกส์ของของแข็งเกี่ยวกับโครงสร้างของผลึก การตรวจสอบโครงสร้างของผลึกด้วยวิธีการดิฟแฟรกชั่นของคลื่น การสั่นสะเทือนของแลททิสของผนึก ซึ่งทำให้เกิดสมบัติทางเสียงและแสงของวัตถุ ทฤษฎีอิเล็กตรอนอิสระ ทฤษฎีแบนด์ของของแข็ง (Band of Solid) สมบัติของโลหะทางด้านความร้อนและทางไฟฟ้า โดยให้ศึกษาในเชิงบรรยาย และนำสมการทางคณิตศาสตร์มาประกอบตามสมควร
     
4014501 การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์
3(2-2)
Electronic Circuits Design
                 การออกแบบวงจรเชิงเส้นและวงจรเชิงสวิตซ์ โดยใช้ทรานซีสเตอร์ เอฟ.อี.ที.ยู.เจ.ที.พี.ยู.ที. คุณสมบัติของวงจรรวมแบบเชิงเส้นต่าง ๆ และการออกแบบใช้งานในวงจรขยายสัญญาณ วงจรเปรียบเทียบ วงจรแหล่งจ่ายไฟ วงจรกำเนิดสัญญาณและวงจรเปลี่ยนรูปสัญญาณ
     
4014502 ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์
3(2-2)
Digital Electronics
                 วงจรรากพื้นฐาน พีชคณิตบลูลีน วงจรคอมบิเนชั่น วงจรเข้ารหัส วงจรแปลงรหัส วงจรเลขคณิต การเลือกข้อมูล การกระจายข้อมูล เกทชนิดอินพุท- ชมิตต์ วงจรพัลส์ วงจรมัลติไวเบรเตอร์ชนิดต่าง ๆ วงจรนับและหาร วงจรนับแบบซิลโครนัสและแบบอซิงโครนัส เกทชนิด 3 สถานะ บัสและการเชื่อมต่อรหัส วงจรซีเควนเชียน วรจร A/D และ D/A สเตทแมชีน ไมโครโปรเซสเชอร์เบื้องต้น และหน่วยความจำชนิดต่าง ๆ
     
4014503 ระบบไมโครโปรเซสเซอร์
3(2-2)
Microprocessors System
                 โครงสร้างและสถาปัตยกรรมของไมโครโปรเซสเซอร์ การเชื่อมต่อไมโครโปรเซสเซอร์กับหน่วยความจำ โปรแกรมมอนิเตอร์สำหรับไมโคร คอมพิวเตอร์แผ่นพิมพ์เดี่ยว การติดต่อระหว่างไมโครโปรเซสเซอร์กับอุปกรณ์ I/O การใช้ชิพซัพพอร์ท (chip support) กับไมโครโปรเซสเซอร์ การใช้ไมโครโปรเซส-เซอร์ในการควบคุมไมโครคอมพิวเตอร์แบบไอซีตัวเดียว (singer chip Microcomputer)
     
4014504 ออปโตอิเล็กทรอนิกส์
3(3-0)
Opto Electronics
                 พลังงานอะตอม สภาพชั้นพลังงานอะตอม การคายแสงแบบต่าง ๆ แหล่งกำเนิดแสง ทฤษฎีโฟตอนและอันตรกิริยาของรังสีกับสาร กฎการแผ่รังสี การนำไฟฟ้าด้วยแสง ออปติคอลไฟเบอร์ เวฟไกด์ ไดโอดเปล่งแสง ผลึกเหลว โฟโตไดโอด โฟโตทรานซิสเตอร์ หลักการของเลเซอร์ แสงโดฮีเรนท์ เลเซอร์แก๊ส เลเซอร์ของแข็ง เลเซอร์สารกึ่งตัวนำ การประยุกต์ใช้เลเซอร์
     
4014505 นิวเคลียร์อิเล็กทรอนิกส์
3(2-2)
Nuclear Electronics
                 ทฤษฎีการวัดอนุภาค หัววัดรังสีแบบต่าง ๆ และการทำงานของหัววัด อุปกรณ์วัดนิเคลียร์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น แหล่งจ่ายศักดาไฟฟ้าสูง อุปกรณ์ขยายสัญญาณ อุปกรณ์นับและเวลา เรทมิเตอร์ อุปกรณ์วิเคราะห์ระดับพลังงาน เครื่องวัดนิวเคลียร์แบบเคลื่อนที่
     
4014506 ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์และการประสาน
3(2-2)
Digital Electronics and Interfacing
                 รหัส การเข้ารหัส และการถอดรหัสไมโครโปรเซสเซอร์ ดิจิตอลซิกแนลโปรเซสเซอร์ ความจำ แอดเดรส การกำหนดตำแหน่งแอดเดรสระบบบัส การขับบัส การมัลติเพลกซ์สัญญาณ การแปลงดิจิตอลเป็นอันนาลอกและอันนาลอกเป็นดิจิตอล ซอฟท์แวร์สำหรับการประสาน เทคนิคและมาตรฐานการติดต่อสื่อสารข้อมูล การออกแบบและสร้างวงจรมาตรฐาน พร้อมทั้งปฏิบัติการที่สอดคล้องกับเนื้อหา อย่างน้อย 8 คาบการทดลอง
                 (Codes and decoding, microprocessor, digital signal processor, memory, address and decoding, bus driving and Bus multiplexing, digital to analog and analog to digital conversions, software for interfacing, data communication standard and techniques design and construction of interface. With 8 corresponding experiments
     
4014601 ปฏิบัติการนิวเคลียร์ฟิสิกส์
1(0-3)
Physics Nuclear Laboratory
                 ปฏิบัติการเพื่อศึกษาการใช้เครื่องมือในการวัดรังสีแบบต่าง ๆ สถิติการวัดรังสีธรรมชาติและคุณสมบัติการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี อันตรกิริยาของรังสีต่อสสาร สเปกโทรสโกปีของรังสี แกมมา บีตา และอัลฟา ปฏิกิริยานิวเคลียร์
     
4014801 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพฟิสิกส์ 3
5(250)
Field Experience in Physics
                 ฝึกงานในหน่วยราชการหรือเอกชน หรือ ทำวิทยานิพนธ์โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษา
     
4014901 โครงการศึกษาเอกเทศฟิสิกส์
2(2-0)
Independent Study
                 ให้เลือกทำการวิจัยหรือค้นคว้าด้วยตนเองในหัวข้อที่สนใจมากที่สุด โดยการเสนอหัวข้อที่จะค้นคว้าหรือทดลองในลักษณะเฉพาะตัว เป็นกลุ่ม ต่ออาจารย์ ผู้สอน วางแผนให้เป็นขั้นตอนและเหมาะสมกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หัวข้อที่จะทำการทดลองหรือค้นคว้าให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ผู้สอน
     
4014902 สัมมนาฟิสิกส์
2(1-2)
Seminar in Physics
                 ศึกษาฟิสิกส์ตามความสนใจ โดยการค้นคว้า นำผลงานและความรู้ทางด้านฟิสิกส์ หรือปัญหาทางฟิสิกส์มาอภิปรายอย่างมีเหตุผล ตามวิธีการทางวิทยา-ศาสตร์ ฝึกการเขียนโครงการและการเขียนรายงาน
     
4014903 โครงงานฟิสิกส์
2(1-2)
Senior Project
                 โครงงานทางฟิสิกส์ด้านทฤษฎีหรือด้านการปฏิบัติ ภายใต้การแนะนำของอาจารย์
                 (Project in theoretical or experimental physics under the supervision of an advisor.)
     

ต่อไป ต่อไป